ม.เทคโนโลยีมหานคร วิจัยกัญชงป้อนอุตสาหกรรมแปรรูป

กระทรวงอุตสาหกรรม มั่นใจให้ ม.เทคโนโลยีมหานคร วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากกัญชงป้อนอุตสาหกรรมแปรรูป กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงศักยภาพในการนำพืชกัญชงมาสร้างเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย จึงให้สำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (สศอ.) ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการสนับสนุน อุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ในปีงบประมาณ 2564 โดยการส่งเสริมสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการแปรรูป กระบวนการผลิต และนวัตกรรม เพื่อนำทุกส่วนของพืชกัญชง ได้แก่ เมล็ด ช่อดอก ใบ เปลือก แกนในลำต้น มาวิจัยและแปรรูป ในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์กระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงประโยชน์ของสาร CBD ที่มีใน พืชกัญชง จึงได้พัฒนาสูตรอาหารไก่เนื้อ 2 สูตร คือ สูตรที่มีส่วนผสมของผลพลอยได้จากกัญชง (ใบและก้านกัญชง อบแห้ง) และสูตรที่มีส่วนผสมของสาร CBD  เพื่อนำมาทดลองใช้เป็นอาหารเลี้ยงไก่เนื้อที่เลี้ยงในโรงเรือนระบบปิด และศึกษาประสิทธิภาพของสาร CBD ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อที่ทดลอง โดยร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ทำการศึกษาวิจัย

          รศ. น.สพ.ดร.จตุพร กระจายศรี  คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร  ให้ข้อมูลถึง ด้านคุณประโยชน์ของสาร CBD ในพืชกัญชง ที่หากนำไปผสมกับอาหาร จะมีสรรพคุณช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกัน การอยากอาหาร การสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น และหากนำมาใช้ในอาหารสัตว์ก็จะเป็นสรรพคุณในการช่วยให้สัตว์มีภูมิต้านทานต่อโรค คลายเครียด และเจริญอาหาร ซึ่งทีมวิจัยต้องศึกษาต่อถึงขนาดของสารที่เหมาะสมกับ สัตว์ เบื้องต้นในการวิจัยครั้งนี้ อาจเริ่มจาก ไก่ และสุกร โดยหากได้สูตรการผลิตที่แน่นอนแล้วก็สามารถขออนุญาตผลิตในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางกระทรวงอุตสาหกรรมให้โจทย์ทดลองการใช้กัญชงเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ จึงได้นำร่องจากอาหารเลี้ยงไก่ เนื่องจากไก่ใช้เวลาเลี้ยงเพียง 45 วัน ผลทดลองล่าสุดพบว่า การใช้ใบและก้านกัญชงเป็นส่วนผสมในอาหารเลี้ยงไก่ ลดต้นทุนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ได้ เนื่องจากกระตุ้นความอยากอาหารของไก่มากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ไก่แข็งแรงขึ้น ลดระยะเวลาการเลี้ยงจาก 45 วัน เหลือ 30-35 วัน ประหยัดต้นทุนอาหารเลี้ยงไก่ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60-70% ของต้นทุนทั้งหมด ดังนั้น หากมีการปลดล็อกการใช้กัญชงอย่างเป็นทางการแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ จะอบรมให้ความรู้วิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่างๆ ต่อไป รวมทั้งจะนำไปต่อยอดอาหารสัตว์ประเภทอื่น อาทิ อาหารหมู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save