โครงการ APSCO CubeSat Competition (ACC) เป็นโครงการหนึ่งของ APSCO ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการพัฒนาดาวเทียม CubeSat ให้แก่ประเทศสมาชิกทั้ง 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน ปากีสถาน อิหร่าน เปรู มองโกเลีย บังคลาเทศและทูร์เคีย ผ่านการแข่งขันการสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรม (Engineering Model) ที่มีขนาดรวมไม่เกิน 3U ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสเรียนรู้ตั้งแต่การออกแบบภารกิจ การออกแบบดาวเทียม จนกระทั่งสามารถสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรมได้ด้วยตนเอง โดยให้แต่ละประเทศสมาชิกทำการคัดเลือกทีมเยาวชนเข้าแข่งขันจำนวน 5 ทีม (ทีมละ 5 คน) ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ เพื่อให้ผลการสร้างดาวเทียมในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานสากล จากนั้นจึงทำการคัดเลือกหนึ่งทีมสุดท้ายที่มีศักยภาพสูงสุดของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อรับทุนสนับสนุนการสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรมเป็นจำนวน 100,000 USD (ประมาณ 3 ล้านบาทเศษ)
โครงการ ACC-Thailand มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานของโครงการ ACC ที่ สดช. รับผิดชอบในนามของประเทศไทย ซึ่ง สดช. ได้เล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุ่งมั่นส่งเสริมเทคโนโลยีดาวเทียมและกิจการอวกาศมายาวนานกว่า 25 ปี จึงไว้วางใจเสนอให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพขับเคลื่อน โครงการ ACC-Thailand ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การให้ความรู้เบื้องต้น การออกแบบกิจกรรม การแข่งขัน รวมถึงการเสริมทักษะที่จำเป็น เพื่อเฟ้นหาทีมเยาวชนที่มีศักยภาพจำนวน 5 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ACC ต่อไป
อย่างไรก็ดี ทาง สดช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เห็นพ้องต้องกันว่าในช่วงแรกของกิจกรรมในโครงการ ACC เป็นกิจกรรมออนไลน์ เห็นควรเพิ่มทีมเยาวชนอีก 5 ทีม รวมเป็น 10 ทีม เพื่อขยายโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนผู้สนใจและเป็นการใช้ประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิกของ APSCO ในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เยาวชนที่ผ่านเข้ารอบแรกจะได้รับการอบรมการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (Conceptual Design) จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ จากนั้นทั้ง 10 ทีมจะถูกคัดเลือกเหลือ 5 ทีมตัวจริง เพื่อเข้ากิจกรรมอื่น ๆ ของ ACC ต่อไป
“โครงการ ACC-Thailand” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นเจ้าภาพดำเนินกิจกรรม จึงแบ่งรูปแบบการจัดงาน ดังนี้
รูปแบบกิจกรรม | ระยะเวลา | สถานที่ |
---|---|---|
กิจกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการ ACC และ โครงการ ACC-Thailand | February 2023 | Online |
ACC-Thailand Activity Opening | 22 March 2023 | ม.เทคโนโลยีมหานคร |
First-selection submission Deadline | 20 May 2023 | ม.เทคโนโลยีมหานคร |
First-selection Result Notification | 31 May 2023 | ม.เทคโนโลยีมหานคร |
Second-selection document submission deadline | 25 June 2023 | ม.เทคโนโลยีมหานคร |
Second-selection Result Notification | 1 July 2023 | ม.เทคโนโลยีมหานคร |
ผู้ริเริ่มการสร้างดาวเทียมด้วยบุคลากรภายในประเทศ
เมื่อกล่าวถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หลายคนอาจพอรู้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งที่เป็นเลิศด้านการเรียนการสอนวิศวกรรม และเทคโนโลยี หรือมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีเปิดสอนสัตวแพทย์ เมื่อสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน แต่หลายคนโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่า มหาวิทยาลัย ฯ เคยออกแบบและพัฒนาดาวเทียมเป็นของตัวเองมาแล้ว โดยในปี พ.ศ. 2539 ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีในขณะนั้น ได้เล็งเห็นว่า กิจการด้านอวกาศโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมมีแนวโน้มของความต้องการบุคลากรเป็นอย่างมาก เพราะความต้องการในด้านการสื่อสารและสำรวจ รวมถึงการรักษาอธิปไตยที่มากขึ้น ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคมีต้องการดาวเทียมเป็นของตนเอง ทางมหาวิทยาลัย ฯ ได้ใช้เงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ในการออกแบบและพัฒนาดาวเทียมเป็นของตัวเอง โดยทุนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยูคอม
จากการสำรวจและสืบค้นข้อมูลมหาวิทยาลัย ฯ ได้พิจารณาเห็นว่า มหาวิทยาลัยเซอเรย์ (University of Surrey) ประเทศอังกฤษ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลกในด้านการพัฒนาดาวเทียม ด้วยเหตุนี้ทางมหาวิทยาลัย ฯ จึงได้จัดตั้งทีมเพื่อไปเรียนรู้เพื่อการออกแบบและพัฒนาดาวเทียมเป็นของตัวเอง ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งประกอบไปด้วยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ฯ จำนวน 11 ท่านและวิศวกรจากบริษัทยูคอมจำนวน 1 ท่าน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ทีมพัฒนาดาวเทียมไทพัฒ ดาวเทียมวิจัยขนาดเล็กดวงแรกของประเทศไทย
ทีมพัฒนาได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นระดับสูงในการออกแบบดาวเทียม การพัฒนาและการทดสอบดาวเทียมจนสามารถพัฒนาดาวเทียมได้ด้วยตนเองเมื่อ ปี พ.ศ. 2540 โดยตอนแรกดาวเทียมดวงนี้ชื่อว่า TMSAT (Thai Micro-Satellite) แต่ต่อมาดาวเทียม TMSAT ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน ชื่อว่า ดาวเทียม ‘ไทพัฒ (Thaipaht) ‘ เมื่อเดือนตุลาคม 2541 หลังจากส่งขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยแล้ว ยังเป็นดาวเทียมที่สามารถใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้ออกแบบไว้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
รูปที่ 1 ทีมพัฒนาดาวเทียมไทพัฒ ดาวเทียมวิจัยขนาดเล็กดวงแรกของประเทศไทย
ทีมพัฒนาได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นระดับสูงในการออกแบบดาวเทียม การพัฒนาและการทดสอบดาวเทียมจนสามารถพัฒนาดาวเทียมได้ด้วยตนเองเมื่อ ปี พ.ศ. 2540 โดยตอนแรกดาวเทียมดวงนี้ชื่อว่า TMSAT (Thai Micro-Satellite) แต่ต่อมาดาวเทียม TMSAT ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน ชื่อว่า ดาวเทียม ‘ไทพัฒ (Thaipaht) ‘ เมื่อเดือนตุลาคม 2541 หลังจากส่งขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยแล้ว ยังเป็นดาวเทียมที่สามารถใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้ออกแบบไว้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ทีมที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกประกอบด้วยสมาชิกทีมจำนวน 5 ท่าน โดยมี อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน และนักเรียน/นักศึกษา 4 ท่าน
รูปแบบการแข่งขันรอบแรก
ส่งผลงานก่อน วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 24:00 น.
**ขยายเวลาการส่งผลงาน ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นี้เท่านั้่น**
รูปแบบการแข่งขันรอบที่สอง
วัน/เวลา ในการแข่งขัน จะแจ้งภายหลัง
รูปแบบการแข่งขันรอบสุดท้าย
ทีมที่มีผลการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC และ ACC-Thailand สูงสุด จะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไปของทางโครงการ ACC
ในการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของ ACC-Thailand ได้มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาในแต่ละรอบการคัดเลือกดังนี้ (เกณฑ์การประเมินนี้สำหรับคณะกรรมการผู้ตัดสินของ ACC-Thailand เท่านั้น)
การคัดเลือกรอบแรก
การประเมินผลจะพิจารณาในด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน สำหรับการพิจารณาเอกสารนำเสนอภารกิจ ดังนี้
การคัดเลือกรอบที่สอง
การคัดเลือกรอบสุดท้าย*
การประเมินผลจะพิจารณาในด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน สำหรับการออกแบบดาวเทียมตามเบื้องต้น ดังนี้
* เกณฑ์การประเมินอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของโครงการ ACC
รางวัลสำหรับผู้ผ่านการประเมินรอบแรก
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้รับ ประกาศนียบัตร พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมอบรม(ออนไลน์) หัวข้อ การออกแบบตามแนวคิด (Conceptual design) โดยผู้เชี่ยวชาญ ระดับนานาชาติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
รางวัลสำหรับผู้ผ่านการประเมินรอบที่สอง
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สองจะได้รับ ได้รับประกาศนียบัตรและได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบสุดท้าย พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมอบรม(ออนไลน์) หลักสูตร การออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น (Preliminary design) จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ และเข้าค่ายเสริมความรู้ด้านการพัฒนาดาวเทียมและเสริมทักษะสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ จากผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย
ทีมที่ได้คะแนนประเมิน (จากคณะกรรมการผู้ตัดสิน ACC และ ACC-Thailand) สูงสุด จะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อร่วมกิจกรรมของ ACC ต่อไป
คุณสมบัติของทีมผู้เข้าร่วมการคัดเลือก กฎ กติกาและเกณฑ์การคัดเลือก
คุณสมบัติของทีมผู้เข้าร่วมการคัดเลือก
ทีมที่จะเข้าร่วมการคัดเลือกประกอบด้วยสมาชิกทีมจำนวน 5 ท่าน โดยมี อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน และนักเรียน/นักศึกษา 4 ท่าน อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางโครงการ ACC แนะนำว่า ควรมีนักศึกษาระดับปริญญาเอก 1 ท่าน และนักศึกษา/นักเรียนในทีม ควรเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การบินและอวกาศ (Aerospace) ไฟฟ้า (Electrical) เครื่องกล (Mechanical) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
กฎ/ระเบียบ
กติกาและรูปแบบการแข่งขัน
การคัดเลือกรอบแรก
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับมอบหมายให้ทำการออกแบบหัวข้อภารกิจสำหรับดาวเทียม Cubesat ขนาดไม่เกิน 3U (ดาวเทียมขนาด 3U จำนวน 1 ดวง หรือ ดาวเทียม 1U จำนวน 3 ดวง หรือ ดาวเทียมขนาด 2U และ 1U อย่างละ 1 ดวง) และมีงบประมาณในการพัฒนาดาวเทียมเชิงวิศวกรรม (Engineering model) ไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยแต่ละทีมจะทำการพัฒนาเอกสารนำเสนอภารกิจ ที่ประกอบไปด้วย ชื่อภารกิจ ร่างการออกแบบดาวเทียม การนำไปใช้ประโยชน์ รายละเอียดค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาดาวเทียมเชิงวิศวกรรม และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (แต่ละทีมต้องส่งเอกสารการออกแบบฯ ภายในเวลาที่กำหนด)
ทีมที่มีผลการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC-Thailand สูงสุด 10 อันดับแรก จะได้ผ่านเข้าสู่รอบการคัดเลือกรอบที่สอง
การคัดเลือกรอบที่สอง
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 10 ทีม จะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม (ออนไลน์) หลักสูตร การออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (Conceptual design) ที่จัดโดยโครงการ ACC และต้องพัฒนาเอกสารการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด ตามเงื่อนไขและรูปแบบของทางโครงการ ACC (เป็นภาษาอังกฤษ) ก่อนที่แต่ละทีมจะมานำเสนอผลการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (นำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้) ต่อคณะกรรมการผู้ติดสินของโครงการ ACC-Thailand โดยแต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอทีมละ 15 นาทีและมีเวลาในการตอบคำถาม 5 นาที (แต่ละทีมต้องส่งเอกสารการออกแบบฯ ภายในเวลาที่กำหนด)
ทีมที่มีผลการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC-Thailand สูงสุด 5 อันดับแรก จะได้ผ่านเข้าสู่การคัดเลือกรอบสุดท้าย
การคัดเลือกรอบสุดท้าย
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สองจำนวน 5 ทีม จะต้องแนะนำทีมและภารกิจที่ได้ออกแบบไว้ (เป็นภาษาอังกฤษ) ต่อคณะกรรมการผู้ตัดสินจากโครงการ ACC เพื่อรับคำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข และจะได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ด้านการพัฒนาดาวเทียมและเสริมทักษะสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติที่จัดโดยโครงการ ACC-Thailand เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในการออกแบบดาวเทียมและทักษะที่จำเป็นในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยแต่ละทีมจะทำการปรับปรุงเอกสารการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิดที่ได้รับการแนะนำทั้งจากคณะกรรมการผู้ตัดสินของ ACC และวิทยากรจากการเข้าค่ายเสริมความรู้ฯ ก่อนจะทำการส่งให้ทางคณะกรรมการผู้ตัดสินทั้งในโครงการ ACC และ ACC-Thailand รวมถึงต้องนำเสนอผลการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น) ต่อหน้าคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC (ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์) โดยใช้กติกาและการนำเสนอตามรูปแบบของโครงการ ACC เพื่อให้ทางคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC ประเมินผลการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (มีผลต่อการคำแนะนำของการคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทย)
หลังจากนั้นทางโครงการ ACC จะให้ทีมที่เข้ารับการคัดเลือกทั้ง 5 ทีมได้เข้าร่วมอบรบ (ออนไลน์) หลักสูตร การออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น (Preliminary design) เพื่อให้แต่ละทีมสามารถพัฒนาเอกสารการออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น ตามเงื่อนไขและรูปแบบของทางโครงการ ACC (เป็นภาษาอังกฤษ) ก่อนที่แต่ละทีมต้องมานำเสนอผลการออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น (นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น) ต่อคณะกรรมการผู้ติดสินของโครงการ ACC (ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์) และต่อหน้าคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC-Thailand เพื่อประเมินผลการออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น
ทีมที่มีผลการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC และ ACC-Thailand สูงสุด จะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไปของทางโครงการ ACC
เกณฑ์การคัดเลือก
ในการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้ตัดสินของ ACC-Thailand ได้มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาในแต่ละรอบการคัดเลือกดังนี้ (เกณฑ์การประเมินนี้สำหรับคณะกรรมการผู้ตัดสินของ ACC-Thailand เท่านั้น)
การคัดเลือกรอบแรก
การประเมินผลจะพิจารณาในด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน สำหรับการพิจารณาเอกสารนำเสนอภารกิจ ดังนี้
การคัดเลือกรอบที่สอง
การคัดเลือกรอบสุดท้าย*
การประเมินผลจะพิจารณาในด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน สำหรับการออกแบบดาวเทียมตามเบื้องต้น ดังนี้
* เกณฑ์การประเมินอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของโครงการ ACC
รางวัล
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้รับ ประกาศนียบัตร พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมอบรม(ออนไลน์) หลักสูตร การออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (Conceptual design) จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สอง
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สองจะได้รับ ประกาศนียบัตร พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมอบรม(ออนไลน์) หลักสูตร การออกแบบดาวเทียมเบื้องต้น (Preliminary design) จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ และค่ายเสริมความรู้ด้านการพัฒนาดาวเทียมและเสริมทักษะสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ จากผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สองจะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโครงการ ACC โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น การอบรม (ออนไลน์) ในหลักสูตร การออกแบบดาวเทียมเชิงรายละเอียด (Detail design) (เป็นภาษาอังกฤษ), ค่ายภาคฤดูร้อน (ประมาณ 3 สัปดาห์) ในหลักสูตร การประกอบและทดสอบดาวเทียมเชิงวิศวกรรม จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ และได้รับเงินสนับสนุนการพัฒนาดาวเทียมเชิงวิศวกรรมจำนวน 100,000 USD (ประมาณ 3 ล้านบาท) ตามเกณฑ์การแข่งขันของโครงการ ACC
>> สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน โครงการ ACC-Thailand (คลิก)
>> Download เอกสารอื่นๆ
(2) สำเนาหนังสือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่ มทม ๖๖/๐๗๖ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ >>click<<
(3) คู่มือโครงการ ACC-Thailand >>click<<
(4) หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ เปิดโลกกิจกรรม ACC-Thailand >>click<<
(5) กำหนดการเปิดโลกกิจกรรม ACC-Thailand >>click<<
(6) โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ โครงการ ACC-Thailand >>click<<
(7) (Template) สำหรับการแข่งขันโครงการ ACC-Thailand รอบแรก >>click<<
**ส่งผลงาน Template รอบแรก ได้ที่ suphongs@mut.ac.th **
ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพรอบแรก โครงการ ACC-Thailand
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ขอแสดงความยินดี กับ ทีมที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการโครงการ ACC-Thailand
รอบแรก ทั้ง 9 ทีม ประกอบด้วย
- FindFire
- CIRFLINK
- AgriCubeSat
- OverTheClouds
- CubeCharge
- SUT-CUBE SAT
- KEYBOX
- Shamash
- ง่วงครับอยากนอน
ทั้งนี้ ทีมผู้สมัครที่ผ่านรอบแรกทั้ง 9 ทีม จะต้องนำเสนอผลงาน(โดยนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา) ต่อหน้าคณะกรรมการผู้ตัดสินของโครงการ ACC-Thailand
โดยแต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอ 10 นาที และมีเวลาในการตอบคำถามจากคณะกรรมการผู้ตัดสิน 10 นาที
คณะกรรมการของโครงการ ACC-Thailand รวบรวมคะแนนเสนอผลการคัดเลือกต่อ สดช. เพื่อประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประสานการแข่งขัน จะได้กำหนดการและรายละเอียดการคัดเลือกให้ทีมแข่งขันทราบในลำดับต่อไป
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
Accept All