วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ วิศวะคอม เป็นหนึ่งในสาขาที่มีอัตราการเข้าศึกษาต่อสูงที่สุดในบรรดาสาขาต่างๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาลัยชั้นนำหลายแห่งจะต้องใช้คะแนนสอบเข้าที่สูงมากเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าเรียน หรือศึกษาต่อในสาขาวิศวะคอม และกำลังหาข้อมูลว่าจบวิศวะคอมทำงานอะไร เพื่อนำเอาไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้รวบรวมอาชีพสำหรับผู้ที่จบวิศวะคอม มาเป็นข้อมูลให้กับคุณผ่านทางบทความนี้
จากการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า “วิศวะคอม” เป็นอาชีพที่ค่อนข้างมีรายได้สูงมาก อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลก ซึ่งเราได้หยิบเอา 5 อาชีพที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีความสนใจอยากเรียนต่อ วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ มาฝากดังนี้
หากถามถึงจบวิศวะคอมทำงานอะไร อาชีพแรกที่ต้องยอมรับเลยว่า เป็นอาชีพที่มีรายได้สูง คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์ โดยลักษณะงานของอาชีพนี้ คือ ทำการวิจัย, ออกแบบ, พัฒนา, ศึกษา และกำหนดคุณลักษณะ ติดตั้ง, บริหาร รวมถึงกำหนดนโยบายการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในสถานประกอบการทั้งระบบ อีกทั้งยังมีการดำเนินการในด้านของการบำรุงรักษา ระบบคอมพิวเตอร์, วงจรดิจิตอล, ระบบทำงานฝังตัว (Embedded System), ระบบการจัดการ, ระบบฐานข้อมูล, โปรแกรมระบบ, ระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์, ระบบเครือข่ายข้อมูล เป็นต้น ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และมีความต้องการในตลาดแรงงานสูงมาก โดยเฉพาะในสถานประกอบการ หรือองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลาง ในหลายๆ ประเทศ
อาชีพนี้สามารถแบ่งสายงานออกได้เป็นหลายสายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สายนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) , สายนักพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Developer) และ สายนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาสายไหนต่างก็มีหน้าที่หลักในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพในการประมวลผลดีขึ้น และเพื่อให้ตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานมากที่สุด โดยในแต่ละสายงานก็จะมีการแบ่งหน้าที่ย่อยลงไปอีก ยกตัวอย่างเช่น นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) ก็จะมีนักพัฒนาส่วนหน้าบ้าน (Frontend Developer) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนา UX/UI* ให้เป็นไปตาม Design ที่ UX/UI Designer ได้ออกแบบไว้ เป็นต้น
สายงานนี้ จะเป็นสายงานที่ครอบคลุมในตำแหน่งต่างๆ ที่มีการปฏิบัติงานทางวิชาการคอมพิวเตอร์ โดยลักษณะของงานจะเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา, การวิเคราะห์, การจัดระบบและการวางแผนการประมวลผลของข้อมูล, การเขียนคำสั่งให้เครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งจะมีชื่อตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
สำหรับอาชีพนักทดสอบผลิตภัณฑ์ (Software Tester) อาจเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีคนรู้จักน้อย แต่แน่นอนว่าสำหรับผู้ที่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และไม่รู้ว่าจบวิศวะคอมทำงานอะไร อาชีพนี้ คือ หนึ่งในอาชีพที่สามารถทำได้ โดยอาชีพนักทดสอบผลิตภัณฑ์ จะเป็นผู้ที่ทดลองการใช้งานผลิตภัณฑ์ ตรวจดูความลื่นไหล และตรวจดูความผิดปกติของผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างเช่น การทดลองใช้แอปพลิเคชัน นักทดสอบจะช่วยทำการประเมินแอปพลิเคชัน และส่งกลับไปให้โปรแกรมเมอร์ทำการแก้ไข (ในกรณีที่พบจุดที่ต้องทำการแก้ไข) ก่อนที่จะส่งงานต่อไปถึงผู้เกี่ยวข้องส่วนอื่นๆ ต่อไป
โปรแกรมเมอร์ (Programmer) น่าจะเป็นอาชีพแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงหากเกิดคำถามว่าจบวิศวะคอมทำงานอะไร โดยหน้าที่หลักของอาชีพโปรแกรมเมอร์ คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเขียนชุดคำสั่งที่จะใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวิเคราะห์ระบบสร้าง และการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งภาษาที่ใช้เขียน ได้แก่ html , CSS , JavaScript , PHP และภาษาอื่นๆ โดยในบางครั้งอาจจะต้องมีการติดต่อผู้ใช้งานระบบ เพื่อทำการขอข้อมูลเพิ่มเติมเป็นครั้งคราว
การเรียนหลักๆ ของคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะมีในส่วนของ Software, Hardware และ Network ตลอดจนเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่เหมาะจะเรียนในสาขานี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจ และมีความชื่นชอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนเป็นพิเศษ และจะต้องมีความเข้าใจในตัวเองว่า อนาคตอยากที่จะไปทางสายงานไหนเป็นหลัก เพราะหากเป็นการเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ หรือเรียนเพื่อสิ่งที่อยากทำ เรียนเพื่อสิ่งที่อยากเป็นในอนาคต จะทำให้มีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็น 5 อาชีพ ที่ผู้เรียนจบวิศวะคอมสามารถทำได้ แต่นอกเหนือไปจาก 5 อาชีพที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ผู้ที่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ยังสามารถที่จะไปทำอาชีพอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาได้อีกเพียบ รับรองว่าเป็นหากเรียนจบสาขานี้ มีงานรองรับและเป็นสายงานที่มีรายได้ดีติดอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
Accept All