วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์
Semiconductor Engineering

วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์: ก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีขั้นสูง

หลักสูตรมุ่งผลิตวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์คุณภาพสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม ครอบคลุมทุกขั้นตอนใน Value Chain ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้แก่

  • การออกแบบวงจรรวม (IC Design)
  • การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Fabrication)

การประกอบและทดสอบอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (Assembly & Testing)โดยมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรในจำนวนที่เพียงพอเพื่อสร้าง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ (Impact) ในระดับประเทศ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็น New Growth Engine ของประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

ตั้งเป้าหมายผลิตกำลังคนทักษะสูงตอบสนองอุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนทั่วโลก

ทำความรู้จักหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์

วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์คือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ผลิต และทดสอบอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ หน่วยความจำ และเซ็นเซอร์ต่างๆ สาขานี้ครอบคลุมหลายแขนง เช่น วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมไฟฟ้า และการประมวลผลสัญญาณ

วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นอีกหนึ่งสาขาของวิศวกรรมมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า ล้วนต้องพึ่งพาชิปเซมิคอนดักเตอร์ การเรียนสาขานี้จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง

จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์

มหาวิทยาลัยฯ เปิดหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ผ่าน เครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภาคอุตสาหกรรม สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผลักดันการพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูง ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในระดับประเทศและระดับโลก

พร้อมห้องปฏิบัติการ MUT Surface Mount Technology Laboratory ทันสมัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นกระบวนการ อาทิ Solder Paste Printing ,Solder Paste Inspection (SPI) , SMT Chip Mounter , Reflow Soldering, Manufacturing Defects Analyzer (MDA), Functional Tester (FCT) และ Automated Optical Inspection (AOI)

เนื้อหาการเรียนที่สนใจในวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์

(Coming Soon)

ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ มีดังนี้

  1. สามารถทำงานเป็นวิศวกรที่มีทักษะด้านออกแบบวงจรรวม หรือด้านการประกอบอุปกรณ์
    เซมิคอนดักเตอร์ หรือการทดสอบอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ หรือการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้านดูแลกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์
  2. สามารถแก้ปัญหาที่พบในกระบวนการทำงานเฉพาะทางตามแขนงที่จบการศึกษา
  3. สามารถศึกษาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิม
เรียนจบวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทำงานอะไรได้บ้าง

โอกาสในการทำงานที่กว้างขวางตอบโจทย์อุตสาหกรรมชิปที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นที่ต้องการของบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการออกแบบชิป ที่สำคัญ สามารถต่อยอดไปยังงานด้าน IC Design, Semiconductor Fabrication, MEMS/NEMS, Failure Analysis, Process Integration และ R&D

เมื่อจบการศึกษาด้านวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ นักศึกษาสามารถทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น

แขนง IC Design

  • Analog IC Design Engineer
  • Digital IC Design Engineer
  • Embedded System Engineer
  • Electronic Engineer
  • Test Development Engineer

แขนง Semiconductor Assembly and Testing

  • Electrical Engineer / Electronics Design Engineer
  • Test Development Engineer
  • FA Analysis Engineer
  • Test Product Engineer

วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล การศึกษาในสาขานี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสในการทำงานที่มีรายได้สูง แต่ยังช่วยสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลก หากคุณสนใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อัจฉริยะและการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง การเรียนวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์
1. วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์เรียนเกี่ยวกับอะไร

การเรียนวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ MUT จะไม่ได้เน้นเฉพาะการเรียนทฤษฎีในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ รวมถึงมีการปฏิบัติการงานจริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานจริง รวมถึงเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม และความอดทน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต

  • ชั้นปีที่ 1 มีการปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อนำพื้นฐานเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนในชั้นปีต่อ ๆ ไป
  • ชั้นปีที่ 2 เริ่มเข้าสู่การเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยจะมีการฝึกปฏิบัติทางด้านทฤษฎี ที่สามารถนำไปใช้ในชั้นปีที่ 3 ได้
  • ชั้นปีที่ 3 เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ เปิดโอกาสให้เรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
  • ชั้นปีที่ 4 การเรียนปฏิบัติการในอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ รวมถึงการจัดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการ
2. วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เงินเดือนเท่าไหร่?

ฐานเงินเดือนของวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จะขึ้นอยู่กับสายงาน ดังนี้

  • แขนง IC Design ประสบการณ์ 1 – 5 ปี บริษัทเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 25,000 – 45,000 บาท
  • แขนง Semiconductor Assembly and Testing ประสบการณ์ 1 – 5 ปี บริษัทเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 25,000 – 45,000 บาท
3. มีแผนการเรียนอะไรบ้าง

แผนการเรียนวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ MUT จะมี 2 แผนการเรียนให้เลือก ดังนี้

  • แผน 4 ปี เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ปวช.
  • แผน 2.5 ปี เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบ ปวส. เทียบโอน เรียนทั้งแผนการเรียนวันธรรมดา และ เรียนวันเสาร์อาทิตย์
4. วิธีการสมัครเรียน
  • สมัครเรียนผ่านเว็บไซต์ www.mut.ac.th แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
  • ลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร MII สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ เปิดรับสมัคร-ลงทะเบียน ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด 9:00-17:00 น.
  • ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ (แจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ 02-988-4021-24 ได้ทุกวัน)
  • ค่าสมัคร 300 บาท สามารถชำระผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือ ที่มหาวิทยาลัยฯ
5. เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่
  • รูปถ่าย หน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  • สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ชุด
    (กรณีกำลังศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย สามารถยื่นใบรับรองเกรด 5 เทอม (วุฒิ ม.6/ปวช.) หรือ 3 เทอม (วุฒิ ปวส.)ได้)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเน
  • ทะเบียนบ้านของนักศึกษา 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง 1 ชุด
  • ใบรับรองแพทย์ จาก โรงพยาบาลหรือคลินิก
  • นักศึกษาชาย สำเนาใบสำคัญทางทหาร(สด.9) 1 ชุด

หมายเหตุ

  • เอกสารสำเนาขนาด A4 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
  • กรณีผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ–สกุล ที่ไม่ตรงกับเอกสารการสำเร็จการศึกษา หรือเอกสารขึ้นทะเบียน ให้แนบสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ชุด

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)
Bachelor of Engineering (B.Eng.)
Semiconductor Engineering

หลักสูตรที่ได้การรับรอง
จากสภาวิศวกร

ก.ว.

หลักสูตรที่ได้การรับรองคุณวุฒิ จากสำนักงาน  

ก.พ.

4 ปี

ปกติ

4 ปี

ปกติ

4 ปี

สหกิจ

4 ปี

4 ปี

สหกิจ

1.5 ปี

เทียบโอน เสาร์ - อาทิตย์

2.5 ปี

เทียบโอน วันธรรมดา

2.5 ปี

เทียบโอน เสาร์-อาทิตย์

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

รองรับโครงการเทียบโอนประสบการณ์

แผนการเรียน เสาร์-อาทิตย์

กยศ.

กรอ.

Human Capital

0

จำนวนบัณฑิตของเรา​

เทอมที่ 1
คณิตศาสตร์เชิงฟิสิกส์
Physical Mathematics
วัสดุวิศวกรรม
Engineering Materials
สถิติสำหรับการแก้ปัญหา
Statistics for Problem Solving
การศึกษาและวิเคราะห์การทำงานในอุตสาหกรรม
Industrial Work Study and Analysis
จิตวิทยาทั่วไป
General Psychology
การวางแผนและควบคุมการผลิต
Production Planning and Control
วิชาเลือกเสรี
เทอมที่ 2
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพธอน
Python Computer Programming
พื้นฐานการเขียนแบบงานวิศวกรรม
Fundamental Engineering Drafting
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
Mechatronics and Automation Engineering Laboratory
เทคโนโลยีการผลิต
Manufacturing Technology
วิศวกรรมความปลอดภัย
Safety Engineering
หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมกระบวนการ
Process Engineering Principles and Calculations
ระบบวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ
Enterprise Resource Planning
เทอมที่ 3
ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
English for Engineering and Technology
ภาษาอังกฤษธุรกิจสําหรับที่ทํางาน
Business English for the Workplace
การจัดการทางวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
Engineering Management and Entrepreneurship
เทอมที่ 1
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
Mechatronics and Robots Engineering Laboratory
การควบคุมและการประกันคุณภาพ
Quality Control and Assurance
การถ่ายเทความร้อนในกระบวนการผลิต
Process Heat Transfer
การบริหารงานซ่อมบำรุง
Maintenance Management
วิศวกรรมควบคุมระบบงานในงานอุตสาหกรรม
Process Control Engineering
โครงงานการออกแบบอุตสาหกรรม
Industrial Design Engineering Project
วิชาเฉพาะเลือก
วิชาเลือกเสรี
การฝึกงานอุตสาหกรรม (240 ชั่วโมง)

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานสามารถเทียบโอนประสบการณ์วิชา INDT0390 การฝึกงานอุตสาหกรรมได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีประสบการณ์สามารถฝึกงานในช่วงวันธรรมดาและเรียนวันเสาร์-อาทิตย์

กลุ่มวิชาเลือก
ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแบบบูรณาการ
Integrated Logistics and Supply Chain Systems
บูรณาการทางวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
Integration of Industrial engineering and Logistics
การจำลองสถานการณ์ด้านอุตสาหกรรมการผลิต
Production Simulation
การยศาสตร์
Ergonomics
การออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม
Engineering Experimental Designs
วิศวกรรมคุณค่า
Value Engineering
การจัดการการขนส่งและคลังสินค้า
Transportation and Warehousing Management
การจัดการโซ่อุปทานในระดับนานาชาติ
Global Supply Chain Management
การจัดซื้อและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Purchasing and E-Commerce
การจำลองสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์
Logistic Simulation
หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมโลจิสติกส์
Selected Topic in Logistics engineering

ค่าใช้จ่ายอยู่ในระหว่างกำลังเตรียมข้อมูล…

จ่ายครั้งแรก 10,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี 369,500 บาท

ดูรายละเอียดค่าใช้จ่าย
4 ปี
เทียบโอน วันธรรมดา
เทียบโอน เสาร์-อาทิตย์

จ่ายครั้งแรก 10,000 บาท ตลอดหลักสูตร 1.5 ปี 160,850 บาท

ดูรายละเอียดค่าใช้จ่าย
เทียบโอน เสาร์-อาทิตย์

Facilities

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save