วิศวกรรมโยธา
Civil Engineering

หลักสูตรวิศวกรรมโยธาที่ MUT มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตและวิศวกรรุ่นใหม่ให้มีความพร้อม โดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับทั้งในแวดวงวิชาการและวิชาชีพ อีกทั้งยังมีห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่ทันสมัยและครบครัน เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้เชิงวิชาการและการประกอบอาชีพที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรม และทำให้นักศึกษาวิศวะโยธามีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือประกอบกิจการส่วนตัว อีกทั้งมีเครือข่ายศิษย์เก่าที่ยังอยู่ในอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ และพร้อมให้การสนับสนุนบัณฑิตรุ่นน้องต่อไป

ทำความรู้จักหลักสูตรวิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา หรือ Civil Engineering คือ ศาสตร์วิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับความนิยมอย่างยาวนานและมีความจำเป็นทุกยุคสมัย เพราะเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อความเจริญของประเทศ (Civilization) สูง ทำให้ตลาดแรงงานมีความต้องการวิศวกรโยธาจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนอง และรองรับต่อการพัฒนาความเจริญด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมโยธาทุกคนจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในเชิงสาธารณะ

จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมโยธา

การเรียนวิศวะโยธาที่ MUT จะมุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตซึ่งเป็นที่ยอมรับของภาคอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมโยธาในวงกว้าง ผ่านการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามความต้องการของผู้เรียนด้วยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากลที่ช่วยผลักดันให้ผู้เรียนได้ลงมือทดลองและสร้างสรรค์ผลงานการศึกษา 

โดยเรามีการจัดกลุ่มเรียนให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้คณาจารย์สามารถดูแลและให้คำแนะนำกับนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิจากสำนักงาน ก.พ. และสภาวิศวกร เมื่อจบแล้วจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.)​ ได้ด้วย

เนื้อหาการเรียนที่สนใจในสาขาวิศวกรรมโยธา

ในการเรียนวิศวะโยธา จะมีเนื้อหาการเรียนที่ครอบคลุมตั้งแต่ทักษะการออกแบบ การทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ การวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ ไปจนถึงการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยปูพื้นฐานเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรและเพิ่มโอกาส รวมถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพได้

  • การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ตามมาตรฐานทางวิศวกรรม รวมทั้งภายใต้แรงลมและแผ่นดินไหว
  • หลักการวิเคราะห์โครงสร้าง และการประยุกต์ใช้ Software สมัยใหม่ในการวิเคราะห์โครงสร้าง
  • เทคโนโลยีแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM: Building Information Modeling)
  • ระบบการก่อสร้างอาคาร การวางแผนงาน และการประมาณราคาค่าก่อสร้าง
  • กฎหมาย สัญญาและข้อกำหนดงานก่อสร้าง รวมถึงความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
  • การวิเคราะห์ ออกแบบ ฐานรากและโครงสร้างใต้ดินแบบต่างๆ รวมทั้งแนวทางแก้ไขในงานฐานราก
  • การวางแผน ออกแบบ ปรับปรุง จัดการระบบขนส่ง รวมทั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ
  • การวิเคราะห์และออกแบบทางด้านวิศวกรรมจราจร รวมถึงการวางแผนระบบขนส่งในเขตเมือง
  • การออกแบบทาง ผิวทาง การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง
  • การรังวัดและสำรวจเพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา
  • ระบบการระบายน้ำ การออกแบบอ่างเก็บน้ำและเขื่อน การประปา

เรียนจบวิศวะโยธา ทำงานอะไรได้บ้าง

อาชีพที่รองรับหลังเรียนจบวิศวะโยธา นับว่ามีความหลากหลาย และมีความมั่นคงสูง เนื่องจากเป็นสายอาชีพที่ยังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก โดยฐานเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับระดับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรด้วยเช่นกัน

  • วิศวกรที่ปรึกษา ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 55,000 บาท
  • วิศวกรประมาณราคา ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 35,000 บาท
  • วิศวกรออกแบบ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 40,000 บาท
  • วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 30,000 บาท
  • วิศวกรสำรวจ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 40,000 บาท
  • วิศวกรแหล่งน้ำ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 38,000 บาท
  • วิศวกรขนส่ง ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาท
  • วิศวกรปฐพี ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาท
  • วิศวกรโครงสร้าง ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 55,000 บาท

                คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

                วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

                วิศวกรรมโยธา

                Bachelor of Engineering (B.Eng.)

                Civil Engineering

                หลักสูตรที่ได้การรับรอง
                จากสภาวิศวกร

                ก.ว.

                หลักสูตรที่ได้การรับรองคุณวุฒิ จากสำนักงาน  

                ก.พ.

                4 ปี

                ปกติ

                4 ปี

                สหกิจ

                4 ปี

                4 ปี

                สหกิจ

                2.5 ปี

                เทียบโอน วันธรรมดา

                2.5 ปี

                เทียบโอน เสาร์-อาทิตย์

                เทียบโอน

                วันธรรมดา

                เทียบโอน

                เสาร์-อาทิตย์

                กยศ.

                กรอ.

                Human Capital

                0

                จำนวนบัณฑิตของเรา​

                เนื้อหาการเรียนในแต่ละชั้นปี

                เทอมที่ 1

                ภาษาอังกฤษในโลกดิจิทัล
                English in the Digital World
                แคลคูลัสเบื้องต้น
                Elementary Calculus
                เคมี
                Chemistry
                ปฏิบัติการเคมี
                Chemistry Laboratory
                ฟิสิกส์ 1
                Physics I
                ปฏิบัติฟิสิกส์
                Physics Laboratory

                เทอมที่ 2

                แคลคูลัสหลายตัวแปร
                Multivariable Calculus
                ฟิสิกส์ 2
                Physics II
                ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
                Scientific Laboratory
                การออกแบบและนวัตกรรมวิศวกรรม
                Engineering Innovation and Design
                กลศาสตร์วิศวกรรม
                Engineering Mechanics
                พื้นฐานการเขียนแบบงานวิศวกรรม
                Fundamental Engineering Drafting

                เทอมที่ 1

                พีชคณิตเชิงเส้นและสมการเชิงอนุพันธ์
                Linear Algebra and Differential Equations
                โลกและอวกาศ
                Earth and Space
                วัสดุวิศวกรรม
                Engineering Materials
                สถิติสำหรับการแก้ปัญหา
                Statistics for Problem Solving
                กลศาสตร์ของแข็ง
                Solid Mechanics
                วิศวกรรมการสำรวจ
                Engineering Survey
                การใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมโยธา
                Computer Methods in Civil Engineering

                เทอมที่ 2

                ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
                Numerical Methods
                ภาษาอังกฤษสำหรับสเต็มศึกษา
                English for STEM Education
                การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                Computer Programming
                คอนกรีตเทคโนโลยี
                Concrete Technology
                ชลศาสตร์
                Hydraulics
                การวิเคราะห์โครงสร้าง 1
                Structural Analysis I

                เทอมที่ 3

                การฝึกสำรวจภาคสนาม
                Surveying Field Practice

                เทอมที่ 1

                ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
                English for Engineering and Technology
                วัสดุและการทดสอบในงานวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Materials and Testing
                วิศวกรรมการประปาและสุขาภิบาล
                Water Supply and Sanitary Engineering
                การวิเคราะห์โครงสร้าง 2
                Structural Analysis II
                วิศวกรรมชลศาสตร์
                Hydraulic Engineering
                ปฐพีกลศาสตร์
                Soil Mechanics

                เทอมที่ 2

                วิศวกรรมอุทกวิทยา
                Engineering Hydrology
                การจัดการงานก่อสร้าง
                Construction Management
                วิศวกรรมฐานราก
                Foundation Engineering
                การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
                Reinforced Concrete Design
                วิศวกรรมการทาง
                Highway Engineering
                สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคา
                Contract, Specification and Cost Estimation
                วิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
                Free Elective

                เทอมที่ 3

                การฝึกงานวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Internship

                เทอมที่ 1

                การออกแบบโครงสร้างไม้และโครงสร้างเหล็ก
                Timber and Steel Design
                วิศวกรรมการขนส่ง
                Transportation Engineering
                โครงงานวิศวกรรมโยธา 1
                Civil Engineering Project I
                การออกแบบรวบยอดทางวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Capstone Design
                กลุ่มวิชาเฉพาะเลือกวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Elective

                เทอมที่ 2

                ภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับที่ทำงาน
                Business English for the Workplace
                จรรยาบรรณสำหรับวิศวกร
                Ethics for Engineers
                โครงงานวิศวกรรมโยธา 2
                Civil Engineering Project II
                กลุ่มวิชาเฉพาะเลือกวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Elective
                วิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
                Free Elective
                สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคา
                Contract, Specification and Cost Estimation
                วิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
                Free Elective

                เทอมที่ 1

                กลศาสตร์ของแข็งประยุกต์ Applied Solid Mechanics
                การออกแบบและก่อสร้างคอนกรีตอัดแรง Prestressed Concrete Design and Construction
                การออกแบบสะพาน Bridge Design
                การออกแบบอาคาร (Building Design)
                การออกแบบพื้นทาง Pavement Design
                CIVL0423 พลศาสตร์ของโครงสร้าง Structural Dynamics
                การสำรวจแนวเส้นทาง Route Survey
                เทคโนโลยีการก่อสร้าง Construction Technology

                เทอมที่ 2

                การวางแผนงานและการจัดตารางเวลาการก่อสร้าง Construction Planning and Scheduling
                เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม Engineering Economy
                ความปลอดภัยและคุณภาพในงานก่อสร้าง Safety and Quality in Construction
                การตรวจสอบอาคารและการบารุงรักษา Building Inspection and Maintenance
                อุทกวิทยาประยุกต์ Applied Hydrology
                วิศวกรรมทรัพยากรน้า Water Resources Engineering)
                การจัดการขยะมูลฝอย Solid Waste Management

                เทอมที่ 1

                แคลคูลัสเบื้องต้น Elementary Calculus
                เคมี Chemistry
                ปฏิบัติการเคมี Chemistry Laboratory
                ฟิสิกส์ 1 Physics I
                ปฏิบัติฟิสิกส์ Physics Laboratory
                สถิติสำหรับการแก้ปัญหา Statistics for Problem Solving
                ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ Scientific Laboratory

                เทอมที่ 2

                แคลคูลัสหลายตัวแปร Multivariable Calculus
                ฟิสิกส์ 2 Physics II
                พื้นฐานการเขียนแบบงานวิศวกรรม Fundamental Engineering Drafting
                วัสดุวิศวกรรม Engineering Materials
                การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Computer Programming
                คอนกรีตเทคโนโลยี Concrete Technology

                เทอมที่ 3

                ภาษาอังกฤษสําหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
                English for Engineering and Technology
                โลกและอวกาศ Earth and Space
                การฝึกสำรวจภาคสนาม Surveying Field Practice

                เทอมที่ 1

                พีชคณิตเชิงเส้นและสมการเชิงอนุพันธ์
                Linear Algebra and Differential Equations
                การวิเคราะห์โครงสร้าง 1
                Structural Analysis I
                การจัดการงานก่อสร้าง
                Construction Management
                ปฐพีกลศาสตร์
                Soil Mechanics
                การใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมโยธา
                Computer Methods in Civil Engineering
                วิศวกรรมการขนส่ง
                Transportation Engineering

                เทอมที่ 2

                ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
                Numerical Methods
                จรรยาบรรณสำหรับวิศวกร
                Ethics for Engineers
                ชลศาสตร์
                Hydraulics
                การวิเคราะห์โครงสร้าง 2
                Structural Analysis II
                วิศวกรรมฐานราก
                Foundation Engineering
                การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
                Reinforced Concrete Design
                วิศวกรรมการทาง
                Highway Engineering
                โครงงานวิศวกรรมโยธา 1
                Civil Engineering Project I

                เทอมที่ 3

                ภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับที่ทำงาน
                Business English for the Workplace

                เทอมที่ 1

                วิศวกรรมอุทกวิทยา
                Engineering Hydrology
                วิศวกรรมการประปาและสุขาภิบาล
                Water Supply and Sanitary Engineering
                วิศวกรรมชลศาสตร์
                Hydraulic Engineering
                การออกแบบโครงสร้างไม้และโครงสร้างเหล็ก
                Timber and Steel Design
                สัญญา ข้อกาหนด และการประมาณราคา
                Contract, Specification and Cost Estimation
                โครงงานวิศวกรรมโยธา 2
                Civil Engineering Project II
                การออกแบบรวบยอดทางวิศวกรรมโยธา
                Civil Engineering Capstone Design

                สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะได้รับ ในหลักสูตรวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

                คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างประเทศ

                คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

                1. วิศวะโยธาเรียนเกี่ยวกับอะไร

                การเรียนวิศวะโยธาที่ MUT จะไม่ได้เน้นเฉพาะการเรียนทฤษฎีในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ รวมถึงมีการปฏิบัติการในสนาม หรือที่เรียกว่า ค่ายวิศวกรรมสำรวจ (Survey Camp) เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานจริง รวมถึงเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม และความอดทน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต

                • ชั้นปีที่ 1 มีการปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อนำพื้นฐานเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนในชั้นปีต่อ ๆ ไป
                • ชั้นปีที่ 2 เริ่มเข้าสู่การเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา โดยจะมีการฝึกปฏิบัติทางด้านทฤษฎี ที่สามารถนำไปใช้ในชั้นปีที่ 3 ได้
                • ชั้นปีที่ 3 เน้นการฝึกปฏิบัติทางด้านทฤษฎี
                • ชั้นปีที่ 4 เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ รวมถึงมีการปฏิบัติการในสนาม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์

                2. วิศวกรโยธา เงินเดือนเท่าไหร่?

                ฐานเงินเดือนของวิศวกรโยธา จะขึ้นอยู่กับระดับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรด้วยเช่นกัน โดยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ดังนี้

                • กลุ่มที่ 1 ภาคีวิศวกรโยธา (Civil Engineer) ประสบการณ์ 1 – 5 ปี บริษัทเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 25,000 – 45,000 บาท หน่วยงานรัฐบาล ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 – 47,000 บาท
                • กลุ่มที่ 2 สามัญวิศวกรโยธา (Senior Civil Engineer) ประสบการณ์ 5 – 10 ปี บริษัทเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 25,000 – 45,000 บาท หน่วยงานรัฐบาล ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 47,000 – 69,000 บาท
                • กลุ่มที่ 3 วุฒิวิศวกรโยธา (Construction Manager) ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป บริษัทเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 80,000 – 150,000 บาท หน่วยงานรัฐบาล ฐานเงินเดือนเริ่มต้น 69,000 – 108,000 บาท

                  3. วิศวะโยธา ผู้หญิงเรียนได้ไหม?

                  น้อง ๆ ผู้หญิงที่อยากเรียนวิศวะโยธา แต่กังวลว่าจะหนักไปเพราะต้องออกภาคสนามอย่างเดียว ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะในสายงานวิศวกรรมโยธา ไม่ได้มีเฉพาะการทำงานที่ต้องออกภาคสนามเท่านั้น แต่ยังมีงานที่สามารถทำในออฟฟิศได้ด้วย ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ ผู้หญิงอยากเรียนวิศวะโยธา ขอแค่มีใจและพร้อมลุยงานให้เต็มที่ เท่านี้ก็เรียนจบและหางานทำได้สบาย

                    4. มีแผนการเรียนอะไรบ้าง

                    แผนการเรียนวิศวกรรมโยธาที่ MUT ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรตั้งแต่เปิดสาขาในปี 2536 จนถึงปัจจุบัน โดยจะมี 3 แผนการเรียนให้เลือก ดังนี้

                    • แผน 4 ปี เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ปวช.
                    • แผน 2.5 ปี เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบ ปวส. จากสายก่อสร้างโดยตรง 
                    • เทียบโอน เรียนทั้งแผนการเรียนวันธรรมดา และ เรียนวันเสาร์อาทิตย์

                    นอกจากนี้ที่ MUT ยังมีหลักสูตรเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน แผนการเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธามามากกว่า 5 ปี สามารถนำประสบการณ์การทำงานมาเทียบโอนรายวิชา และพัฒนาความรู้ เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพได้

                      5. วิธีการสมัครเรียน

                      • สมัครเรียนผ่านเว็บไซต์ www.mut.ac.th แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
                      • ลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร MII สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ เปิดรับสมัคร-ลงทะเบียน ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด 9:00-17:00 น.
                      • ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ (แจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ 02-988-4021-24 ได้ทุกวัน)
                      • ค่าสมัคร 300 บาท สามารถชำระผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือ ที่มหาวิทยาลัยฯ

                        6. เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่

                          • รูปถ่าย หน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
                          • สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ชุด

                          (กรณีกำลังศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย สามารถยื่นใบรับรองเกรด 5 เทอม (วุฒิ ม.6/ปวช.) หรือ 3 เทอม (วุฒิ ปวส.)ได้)

                          • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของนักศึกษา 1 ชุด
                          • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง 1 ชุด
                          • ใบรับรองแพทย์ จาก โรงพยาบาลหรือคลินิก
                          • นักศึกษาชาย สำเนาใบสำคัญทางทหาร(สด.9) 1 ชุด

                          หมายเหตุ

                          • เอกสารสำเนาขนาด A4 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
                          • กรณีผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ–สกุล ที่ไม่ตรงกับเอกสารการสำเร็จการศึกษา หรือเอกสารขึ้นทะเบียน ให้แนบสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ชุด
                          เรียนวิศวะโยธา

                          ปลูกฝังทักษะที่จำเป็น ปูพื้นฐานวิศวะโยธาให้มั่นคง เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ

                          หลักสูตรวิศวกรรมโยธาที่ MUT มีการปูพื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธาตั้งแต่ปีแรกที่เรียน เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถเรียนวิศวะโยธาจนจบชั้นปีที่ 4 ได้อย่างไม่สะดุด นอกจากนี้เรายังมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถทดลอง ฝึกฝน และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับ MUT ได้ที่

                          • สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ โทร.02-988-3650-66 ต่อ 1105-7 สายตรง 02-988-4021-24 หรือ https://www.facebook.com/mutmahanakorn
                          • สำนักทะเบียน 02-988-3650-66 ต่อ 2312-14 หรือ https://www.facebook.com/mutregoffice
                          • ฝ่ายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 02-988-3650-66 ต่อ 2323, 2324 สายตรง 02-988-4035 หรือ https://www.facebook.com/studentloanMUT

                          เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

                          Privacy Preferences

                          คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

                          Accept All
                          Manage Consent Preferences
                          • Always Active

                          Save