วิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
Industrial and Logistics Engineering

หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ที่ MUT เป็นหลักสูตรที่มีการศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานทุกสาขาที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงด้านการบริหารและการจัดการ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงงานทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นหลักสูตรที่ครบเครื่องเรื่องโรงงาน 

ทำให้เมื่อสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้ไปแล้ว นักศึกษาจะสามารถทำหน้าที่ในบทบาทของวิศวกรอุตสาหการได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเป็นที่ต้องการจากภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะวิศวอุตสาหการจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาโรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างได้อย่างผาสุข

ทำความรู้จักหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์

วิศวกรอุตสาหการและโลจิสติกส์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่คุ้นชินคือ วิศวกรโรงงาน ซึ่งในหลักสูตรนี้จะได้ศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานทุกสาขาที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และวัสดุทางวิศวกรรม รวมถึงการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินและการลงทุน  นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเรื่องการออกแบบโรงงาน การควบคุมการผลิต การประกันคุณภาพ การควบคุมมลภาวะ และการบำบัดของเสีย

ทำให้เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับผู้ที่สนใจงานด้านการจัดการโรงงาน วิศวกรโรงงาน งานด้านการออกแบบ วางผังโรงงานและกระบวนการผลิต หรือเป็นนักบริหารรุ่นใหม่ผู้สืบทอดกิจการ เพื่อพัฒนาความรู้และเติบโตในสายงานนี้ได้อย่างราบรื่น

จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์

หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ จะมีการบูรณาการกับวิศวกรรมกระบวนการเคมี ทำให้สามารถขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้ โดยสามารถขอได้ 2 สาขาคือ ใบ กว. วิศวกรรมอุตสาหการ และใบ กว. วิศวกรรมเคมี โดยเรียนเพิ่มเพียง 2 เทอมเท่านั้น

เนื้อหาการเรียนที่สนใจในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์

ในการเรียนวิศวอุตสาหการ จะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานวิศวกรรมในทุกสาขา การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงงาน ซึ่งเนื้อหาการเรียนเหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานเกี่ยวกับงานวิศวอุตสาหการ เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และสร้างความก้าวหน้าในสายงานได้

  • Maintenance Management การบริหารงานซ่อมบำรุง
  • Integrated Logistics and Supply Chain Systems ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแบบบูรณาการ
  • Enterprise Resource Planning ระบบวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ
  • Integration of Industrial engineering and Logistics บูรณาการทางวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
  • Industrial Plant Design การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม
  • Production Simulation การจำลองสถานการณ์ ด้านอุตสาหกรรมการผลิต
  • Ergonomics การยศาสตร์
  • Engineering Experimental Designs การออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม
  • Transportation and Warehousing Management การจัดการการขนส่งและคลังสินค้า
  • Global Supply Chain Management การจัดการโซ่อุปทานในระดับนานาชาติ
  • Purchasing and E-Commerce การจัดซื้อและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • Logistic Simulation การจำลองสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์

วิศวะอุตสาหการ ทำงานอะไรได้บ้าง

อาชีพที่รองรับหลังเรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ นับว่ามีความหลากหลาย และมีความมั่นคงสูง เนื่องจากเป็นสายอาชีพที่ยังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก โดยฐานเงินเดือนของวิศวอุตสาหการจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงานและระดับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรด้วยเช่นกัน

  • วิศวกรโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม ผู้จัดการโรงงาน ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 40,000 – 60,000 บาท
  • วิศวกรควบคุมคุณภาพ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QMR) ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 40,000 บาท
  • วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรฝ่ายบำรุงรักษา ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 37,000 บาท
  • วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 19,000 – 37,000 บาท
  • วิศวกรขาย ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 50,000 บาท
  • วิศวกรออกแบบ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 50,000 บาท
  • วิศวกรควบคุมโครงการ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 17,500 – 45,000 บาท
  • วิศวกรด้านการเงิน การลงทุน และวิเคราะห์ความเสี่ยง ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 50,000 บาท

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ

Bachelor of Engineering (B.Eng.)

Process and Industrial Engineering

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์

Industrial and Logistics Engineering

หลักสูตรที่ได้การรับรอง
จากสภาวิศวกร

ก.ว.

หลักสูตรที่ได้การรับรองคุณวุฒิ จากสำนักงาน  

ก.พ.

4 ปี

ปกติ

4 ปี

สหกิจ

4 ปี

4 ปี

สหกิจ

2.5 ปี

เทียบโอน วันธรรมดา

2.5 ปี

เสาร์-อาทิตย์

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

รองรับโครงการเทียบโอนประสบการณ์

แผนการเรียน เสาร์-อาทิตย์

กยศ.

กรอ.

Human Capital

0

จำนวนบัณฑิตของเรา​

เนื้อหาการเรียนในแต่ละชั้นปี

 เทอมที่ 1

ภาษาอังกฤษในโลกดิจิทัล
English in the Digital World
แคลคูลัสเบื้องต้น
Elementary Calculus
เคมี
Chemistry
ปฏิบัติการเคมี
Chemistry Laboratory
ฟิสิกส์ 1
Physics I
ปฏิบัติฟิสิกส์
Physics Laboratory

 เทอมที่ 2

แคลคูลัสหลายตัวแปร
Multivariable Calculus
ฟิสิกส์ 2
Physics II
ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
Scientific Laboratory
การออกแบบและนวัตกรรมวิศวกรรม
Engineering Innovation and Design
กลศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Mechanics
พื้นฐานการเขียนแบบงานวิศวกรรม
Fundamental Engineering Drafting

 เทอมที่ 1

พื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า
Fundamental Electrical Engineering
พีชคณิตเชิงเส้นและสมการเชิงอนุพันธ์
Linear Algebra and Differential Equations
วัสดุวิศวกรรม
Engineering Materials
อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์ของไหล
Thermodynamics and Fluid Mechanics
การวางแผนและควบคุมการผลิต
Production Planning and Control
โลกและอวกาศ
Earth and Space
สถิติสำหรับการแก้ปัญหา
Statistics for Problem Solving

 เทอมที่ 2

ภาษาอังกฤษสำหรับสเต็มศึกษา
English for STEM Education
ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
Numerical Methods
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Computer Programming
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
Mechatronics and Robots Engineering Laboratory
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Economics
การศึกษางานอุตสาหกรรม
Industrial Work Study

 เทอมที่ 1

ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี English for Engineering and Technology
การวิจัยดำเนินการและการประยุกต์ Operations Research and Applications
การบริหารงานซ่อมบำรุง Maintenance Management
ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล AI and Data Science
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน Mechatronics and Automation Engineering Laboratory
การควบคุมและการประกันคุณภาพ Quality Control and Assurance

เทอมที่ 2

ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแบบบูรณาการ Integrated Logistics and Supply Chain Systems
ระบบวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ Enterprise Resource Planning
เทคโนโลยีการผลิต Manufacturing Technology
การจัดการทางวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ Engineering Management and Entrepreneurship t
วิศวกรรมความปลอดภัย Safety Engineering
แคด/แคม สำหรับการออกแบบวิศวกรรม CAD/CAM For Engineering Design

เทอมที่ 3

การฝึกงานอุตสาหกรรม
Industrial Training

 เทอมที่ 1

ภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับที่ทำงาน Business English for the Workplace
การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวก Industrial Plant and Facilities Design
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Project Feasibility study
โครงงานการออกแบบรวบยอดทางวิศวกรรมอุตสาหการ Industrial Engineering Capstone Design Project
หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมโลจิสติกส์ Special Topics in Logistics Engineering
วิชาเลือกเสรี Free Elective

 เทอมที่ 2

จรรยาบรรณสำหรับวิศวกร Ethics for Engineers
การบูรณาการทางวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ Integration of Industrial engineering and Logistics
โครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ Industrial Engineering Project
วิชาเฉพาะเลือก Elective in Engineering
วิชาเฉพาะเลือก Elective in Engineering
วิชาเลือกเสรี Free Elective

 1. กลุ่มวิศวกรรมกระบวนการผลิต

กระบวนการผลิตอาหาร
Food Manufacturing
กระบวนการหมัก
Fermentation Process
พลังงานทดแทน การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน
Renewable Energy Conservation and Management
หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมกระบวนการผลิต
Special Topics in Process Engineering
ปรากฏการณ์ส่งผ่านสำหรับวิศวกรรมกระบวนการเคมี
Transport Phenomena for Chemical Process Engineering

 3. กลุ่มการจัดการโลจิสติกส์



การจัดการการขนส่งและคลังสินค้า
Transportation and Warehousing Management
การจัดการโซ่อุปทานในระดับนานาชาติ
Global Supply Chain Management
การจัดซื้อและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Purchasing and E-Commerce
การจำลองสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์
Logistic Simulation


 หมายเหตุ

ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาย่อยวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์และสามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมกว. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการได้ ยังสามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมกว. สาขาวิศวกรรมเคมี โดยเรียนรายวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีอีก 27 หน่วยกิต 9 รายวิชา ดังนี้
หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมกระบวนการเคมี
Chemical Process Engineering Principles and Calculations
กระบวนการการถ่ายเทความร้อน
Heat Transfer Process
อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมกระบวนการเคมี
Chemical Process Engineering Thermodynamics
จลนพลศาสตร์และการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมี
Kinetics and Reactor Design
กระบวนการการถ่ายเทมวลสาร
Mass Transfer Process
การออกแบบวิศวกรรมกระบวนการเคมี 1
Chemical Process Engineering Design I
การออกแบบวิศวกรรมกระบวนการเคมี 2
Chemical Process Engineering Design II
พื้นฐานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Fundamentals in Environmental Engineering
พลศาสตร์และการควบคุมกระบวนการ
Process Dynamics and Control

 2. กลุ่มการจัดการอุตสาหกรรม

การจำลองสถานการณ์ด้านอุตสาหกรรมการผลิต
Production Simulation
การยศาสตร์
Ergonomics
การออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม
Engineering Experimental Designs
หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมอุตสาหการ
Special Topic in Industrial Engineering
วิศวกรรมคุณค่า
Value Engineering

 4. กลุ่มการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติในอุตสาหกรรม

เซนเซอร์และระบบในอุตสาหกรรม
Industrial Sensors and Systems
การออกแบบพีไอดีและระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
PID Designs and Computer Control Systems
การปรับพีไอดี และการควบคุมกระบวนการในอุตสาหกรรม
PID Tuning and Industrial Process Control
ไอโอทีอุตสาหกรรมสำหรับระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
Industrial IoT for Control and Instrumentation Systems
ตัวขับเร้าและอุปกรณ์ควบคุมตัวสุดท้ายสำหรับระบบควบคุมอุตสาหกรรม
Actuator and Final Control Element for Industrial Control Systems

เทอมที่ 1

เคมี
Chemistry
ปฏิบัติการเคมี
Chemistry Laboratory
แคลคูลัสเบื้องต้น
Elementary Calculus
พื้นฐานการเขียนแบบงานวิศวกรรม
Fundamental Engineering Drafting
ฟิสิกส์ 1
Physics I
ปฏิบัติการฟิสิกส์
Physics Laboratory
อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์ของไหล
Thermodynamics and Fluid Mechanics
เทคโนโลยีการผลิต
Manufacturing Technology
ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
Scientific Laboratory

เทอมที่ 2

แคลคูลัสหลายตัวแปร
Multivariable Calculus
วัสดุวิศวกรรม
Engineering Materials
กลศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Mechanics
ฟิสิกส์ 2
Physics II
การศึกษาและวิเคราะห์การทำงานในอุตสาหกรรม
Industrial Work Study and Analysis
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Economics
สถิติสำหรับการแก้ปัญหา
Statistics for Problem Solving

เทอมที่ 3

โลกและอวกาศ
Earth and Space
ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
English for Engineering and Technology

เทอมที่ 1

จรรยาบรรณสำหรับวิศวกร
Ethics for Engineers
พื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า
Fundamental Electrical Engineering
พีชคณิตเชิงเส้นและสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ
Linear Algebra and Differential Equations
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
Mechatronics and Robots Engineering Laboratory
การวางแผนและควบคุมการผลิต
Production Planning and Control
ปฏิบัติการวิศวกรรมกระบวนการ
Process Engineering Laboratory
การวิจัยดำเนินการและการประยุกต์
Operations Research and Applications
การบริหารงานซ่อมบำรุง
Maintenance Management

เทอมที่ 2

ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข
Numerical Methods
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Computer Programming
ปฏิบัติการวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
Mechatronics and Automation Engineering Laboratory
ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแบบบูรณาการ
Integrated Logistics and Supply Chain Systems
ระบบวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ
Enterprise Resource Planning
การบูรณาการทางวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
Integration of Industrial engineering and Logistics
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
Project Feasibility study
โครงงานการออกแบบรวบยอดทางวิศวกรรมอุตสาหการ
Industrial Engineering Capstone Design Project

เทอมที่ 3

การจัดการทางวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
Engineering Management and Entrepreneurship
ภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับที่ทำงาน
Business English for the Workplace

เทอมที่ 1

ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล AI and Data Science
การควบคุมและการประกันคุณภาพ Quality Control and Assurance
แคด/แคม สำหรับการออกแบบวิศวกรรม CAD/CAM For Engineering Design
หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมโลจิสติกส์ Special Topics in Logistics Engineering
การศึกษาโรงงานระดับนำร่อง Pilot Plant Study
การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวก Industrial Plant and Facilities Design
โครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ Industrial Engineering Project

หมายเหตุ: ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาย่อยวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์และสามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมกว. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการได้ ยังสามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมกว. สาขาวิศวกรรมเคมี โดยเรียนรายวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีอีก 27 หน่วยกิต 9 รายวิชา ดังนี้
หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมกระบวนการเคมี Chemical Process Engineering Principles and Calculations
กระบวนการการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer Process
อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมกระบวนการเคมี Chemical Process Engineering Thermodynamics
จลนพลศาสตร์และการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมี Kinetics and Reactor Design
การออกแบบวิศวกรรมกระบวนการเคมี 1 Chemical Process Engineering Design I
การออกแบบวิศวกรรมกระบวนการเคมี 2 Chemical Process Engineering Design II
พื้นฐานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม Fundamentals in Environmental Engineering
พลศาสตร์และการควบคุมกระบวนการ Process Dynamics and Control

สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะได้รับ ในหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ (Industrial and Logistics Engineering)

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างประเทศ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์

1. วิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์เรียนอะไรบ้าง?

การเรียนหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์มีความท้าทายขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันเราได้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เต็มตัวแล้ว โดยการเรียนการสอนของเรา จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในระบบการทำงานอัจฉริยะ Smart Operation ทั้งด้านการออกแบบวางแผนจำลองวิเคราะห์ รวมไปถึงการควบคุมกระบวนการผลิตต่าง ๆ ทำให้วิศวกรอุตสาหการที่จบจาก MUT สามารถควบคุมและตอบสนองการทำงานได้แบบ Real-Time

2. วิศวอุตสาหการ ผู้หญิงเรียนได้ไหม?

สามารถเรียนได้ค่ะ โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่มีความสนใจและถนัดด้านการวางแผน การบริหารงานจัดการ และการวิเคราะห์ระบบงาน หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์คือคำตอบ!

3. วิธีการสมัครเรียน

  • สมัครเรียนผ่านเว็บไซต์ www.mut.ac.th แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
  • ลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร MII สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ เปิดรับสมัคร-ลงทะเบียน ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด 9:00-17:00 น.
  • ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ (แจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ 02-988-4021-24 ได้ทุกวัน)
  • ค่าสมัคร 300 บาท สามารถชำระผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือ ที่มหาวิทยาลัยฯ

4. เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่

  • รูปถ่าย หน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  • สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ชุด

(กรณีกำลังศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย สามารถยื่นใบรับรองเกรด 5 เทอม (วุฒิ ม.6/ปวช.) หรือ 3 เทอม (วุฒิ ปวส.)ได้)

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของนักศึกษา 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง 1 ชุด
  • ใบรับรองแพทย์ จาก โรงพยาบาลหรือคลินิก
  • นักศึกษาชาย สำเนาใบสำคัญทางทหาร(สด.9) 1 ชุด

หมายเหตุ

  • เอกสารสำเนาขนาด A4 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
  • กรณีผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ–สกุล ที่ไม่ตรงกับเอกสารการสำเร็จการศึกษา หรือเอกสารขึ้นทะเบียน ให้แนบสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ชุด
เรียนวิศวะโยธา

พัฒนาความรู้ สู่การเป็นผู้นำด้านการจัดการโรงงาน ปูพื้นฐานวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ให้แข็งแรง

วิศวอุตสาหการ นับว่าเป็นสาขาที่มีความก้าวหน้าและความหลากหลายทางสายงานเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถทำงานในส่วนของการผลิตได้แล้ว ยังสามารถทำงานได้ด้านการเงิน การลงทุน และการขายได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับ MUT ได้ที่

  • สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ โทร.02-988-3650-66 ต่อ 1105-7 สายตรง 02-988-4021-24 หรือ https://www.facebook.com/mutmahanakorn
  • สำนักทะเบียน 02-988-3650-66 ต่อ 2312-14 หรือ https://www.facebook.com/mutregoffice
  • ฝ่ายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 02-988-3650-66 ต่อ 2323, 2324 สายตรง 02-988-4035 หรือ https://www.facebook.com/studentloanMUT

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save