ตอบครบ วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง? จบวิศวะทำงานอะไร? เลือกเรียนสาขาไหนดี

ตอบครบ วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง? จบวิศวะทำงานอะไร? เลือกเรียนสาขาไหนดี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่หลาย ๆ คนใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ให้พร้อมรับมือกับการทำงานในอนาคต แต่อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่า วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง? แต่ละสาขาเรียนเกี่ยวกับอะไร แตกต่างกันยังไง? รวมถึงจะเลือกเรียนวิศวะอะไรดี ถึงจะเป็นประโยชน์ต่อการหางานทำในอนาคต สำหรับคนที่สนใจเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่ MUT แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกสาขาไหนดี เรามาทำความรู้จักคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ละสาขาใน MUT ไปพร้อม ๆ กัน

วิศวกรไฟฟ้า คือ ผู้ที่ทำหน้าที่วางแผน ออกแบบ ดูแลรักษา ตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบวงจรต่าง ๆ ซึ่งสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังที่ MUT เน้นปลูกฝังและพัฒนาความรู้พื้นฐานและขั้นสูงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ากำลังในด้านต่าง ๆ รวมถึงระบบการสื่อสาร เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ให้ก้าวทันโลกเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

สำหรับเนื้อหาที่ต้องเรียนในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง จะเป็นความรู้ที่ครอบคลุมระบบไฟฟ้ากำลัง การผลิตพลังงานไฟฟ้า โครงข่ายวงจรของระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย ระบบป้องกัน มาตรการความปลอดภัยทางไฟฟ้า การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า และงานด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง รวมถึงระบบการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

  • Electrical Power System Analysis การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง 
  • Electrical Power Plants and Sub-Stations โรงจักรไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อย 
  • High Voltage Engineering วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง 
  • Power Electronics อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 
  • Renewable Energy Conservation and Management การอนุรักษ์และจัดการพลังงานทดแทน Electric Vehicles (EV) ยานยนต์ไฟฟ้า

จบวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง ทำงานอะไรได้บ้าง?

สำหรับผู้ที่เรียนจบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สามารถทำงานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาขาย่อยที่เรียน ทั้งยังสามารถเลือกทำงานในหน่วยงานภาครัฐได้อีกด้วย โดยฐานเงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 22,000 – 40,000 บาท สายอาชีพที่ตรงกับการเรียนในสาขานี้ เช่น

  • วิศวกรไฟฟ้ากำลัง 
  • วิศวกรโทรคมนาคม 
  • วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรควบคุมระบบ

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นสาขาที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อกลางที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน

เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

เนื้อหาที่จะได้เรียนรู้ในสาขานี้ จะครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า การออกแบบ สร้าง และประยุกต์ใช้งาน ผสมผสานกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ ไปใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

  • Wireless Communications and Applications การสื่อสารไร้สายและการประยุกต์ใช้งาน 
  • Photonics Systems and Applications ระบบโฟโตนิกส์และการประยุกต์ใช้งาน
  • Next Generation Telecommunication and Security โครงข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่และความปลอดภัย
  • Antenna Technologies เทคโนโลยีสายอากาศ
  • Mobile and Cellular Communication การสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูลาร์
  • Circuits Design การออกแบบวงจร
  • RF and Microwave Circuits Design การออกแบบวงจรย่านความถี่วิทยุและไมโครเวฟ
  • Electrical and Product Design การออกแบบไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์
  • IPC and Quality Standard IPC และมาตรฐานคุณภาพ

    จบวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

    สายงานสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ นับว่ามีความหลากหลายพอสมควร เพราะสามารถทำงานได้ทั้งในหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีฐานเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง โดยผู้ที่จบวิศวะอิเล็กทรอนิกส์ เงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 80,000 บาท สายอาชีพที่ตรงกับการเรียนในสาขานี้ เช่น

    • ผู้ช่วยวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
    • นักวิชาการทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • นักวิเคราะห์และออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
    • ผู้ตรวจสอบด้านการจัดการพลังงานทดแทนที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
    • ผู้ดูแลระบบควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงาน/อาคาร/โรงไฟฟ้า
    • หัวหน้าช่างเทคนิคงานผลิตอุปกรณ์/เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์
    • ผู้ควบคุมงานก่อสร้างระบบสื่อสาร/เครือข่ายคอมพิวเตอร์/ระบบอัตโนมัติภายในอาคาร
    • ธุรกิจส่วนตัวทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
    • วิศวกรฝ่ายขายเกี่ยวกับอุปกรณ์ในงานด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
    • พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    เชื่อว่าสาขานี้ จะเป็นสาขาที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือคุ้นหูคุ้นตาเท่าไรนัก ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ โดยสาขาวิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด จะเป็นการบูรณาการความรู้จากหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ให้สอดรับกับการทำงานได้อย่างหลากหลาย

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาที่จะได้เรียนในสาขานี้ จะเป็นการรวมความรู้จาก 2 กลุ่มวิชาหลักเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมควบคุม (Control Engineering) และวิศวกรรมเครื่องมือวัด (Instrumentation Engineering) เน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกทักษะแก้ปัญหาขั้นสูง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 (Human-Robot Co-working) เต็มรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

    • Industrial Sensors and Systems เซนเซอร์และระบบในอุตสาหกรรม  
    • PLC/SCADA for Industrial Control Systems พีแอลซี/สกาดาสำหรับระบบควบคุมอุตสาหกรรม   
    • PID Tuning and Industrial Process Control การปรับพีไอดีและการควบคุมกระบวนการในอุตสาหกรรม  
    • AI/Artificial Intelligent Control and Fuzzy Logic Systems เอไอ/การควบคุมแบบปัญญาประดิษฐ์และระบบฟัซซีลอจิก 
    • Robotic Engineering วิศวกรรมหุ่นยนต์
    • SCADA and Advanced Industrial Control Systems สกาดาและระบบควบคุมขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรม   
    • Industrial IoT for Control and Instrumentation Systems ไอโอทีอุตสาหกรรมสำหรับระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 
    • Smart Manufacturing Design การออกแบบการผลิตอัจฉริยะ   
    • Automatic Control Systems ระบบควบคุมอัตโนมัติ
    • Electrical Instruments and Measurements การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า 

    จบวิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด ทำงานอะไรได้บ้าง?

    สายงานที่รองรับสำหรับคนที่เรียนจบในสาขาวิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด ถือว่าค่อนข้างหลากหลาย ทั้งยังมีฐานเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง จะอยู่ที่ประมาณ 27,000 – 45,000 บาท สำหรับสายอาชีพที่ตรงกับการเรียนในสาขานี้ เช่น

    • วิศวกรควบคุม หรือ วิศวกรควบคุมอัตโนมัติ หรือ วิศวกรควบคุมอุตสาหกรรม
    • วิศวกรรมออโตเมชั่น
    • วิศวกรเครื่องมือวัด
    • วิศวกรไฟฟ้า
    • วิศวกรระบบวัดคุม
    • วิศวกรฝ่ายขายเครื่องมือวัด
    • วิศวกรฝ่ายซ่อมบำรุงระบบควบคุมอัตโนมัติ
    • Start up สร้างนวัตกรรมควบคุมอัตโนมัติ
    • ผู้รับเหมาติดตั้งระบบควบคุมและเครื่องวัด
    • โปรแกรมเมอร์ควบคุม PLC หรือระบบอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรเลอร์
    • อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
    04 วิศวกรรมโยธา

    วิศวกรรมโยธา นับเป็นศาสตร์วิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และมีความสำคัญจำเป็นในทุกยุคสมัย ทำให้เป็นสาขาที่ได้รับความสนใจ เพราะนอกจากวิศวกรโยธาจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานแล้ว ยังมีความมั่นคงสูงในอาชีพการงาน

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาการเรียนในสาขาวิศวกรรมโยธา ครอบคลุมทั้งทฤษฎีทักษะการออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษาสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ การวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ ไปจนถึงการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ในงานก่อสร้าง โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

    • การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ตามมาตรฐานทางวิศวกรรม รวมทั้งภายใต้แรงลมและแผ่นดินไหว
    • หลักการวิเคราะห์โครงสร้าง และการประยุกต์ใช้ Software สมัยใหม่ในการวิเคราะห์โครงสร้าง
    • เทคโนโลยีแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM: Building Information Modeling)
    • ระบบการก่อสร้างอาคาร การวางแผนงาน และการประมาณราคาค่าก่อสร้าง
    • กฎหมาย สัญญาและข้อกำหนดงานก่อสร้าง รวมถึงความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
    • การวิเคราะห์ ออกแบบ ฐานรากและโครงสร้างใต้ดินแบบต่างๆ รวมทั้งแนวทางแก้ไขในงานฐานราก
    • การวางแผน ออกแบบ ปรับปรุง จัดการระบบขนส่ง รวมทั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ
    • การวิเคราะห์และออกแบบทางด้านวิศวกรรมจราจร รวมถึงการวางแผนระบบขนส่งในเขตเมือง
    • การออกแบบทาง ผิวทาง การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง
    • การรังวัดและสำรวจเพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา
    • ระบบการระบายน้ำ การออกแบบอ่างเก็บน้ำและเขื่อน การประปา

    จบวิศวกรรมโยธา ทำงานอะไรได้บ้าง?

    ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นวิศวกรโยธา สามารถเลื่อนระดับใบอนุญาตจากภาคีวิศวกร ไปเป็นสามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกรตามลำดับ ซึ่งแต่ละลำดับขั้นก็จะมีประเภทงาน ขนาดของงาน และฐานเงินเดือนที่แตกต่างกันไป โดยเงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท และสูงสุดได้ถึง 150,000 บาทเลยทีเดียว สำหรับสายอาชีพที่ตรงกับการเรียนในสาขานี้ เช่น

    • วิศวกรที่ปรึกษา
    • วิศวกรประมาณราคา
    • วิศวกรออกแบบ
    • วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง
    • วิศวกรสำรวจ
    • วิศวกรแหล่งน้ำ
    • วิศวกรขนส่ง
    • วิศวกรปฐพี
    • วิศวกรโครงสร้าง

    วิศวกรเครื่องกล เป็นตำแหน่งงานซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก และบุคลากรวิชาชีพจำเป็นที่ช่วยขับเคลื่อน รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมทุกประเภทให้เติบโตก้าวหน้า โดยหลักสูตรของ MUT ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการ กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนส่วนราชการและภาคเอกชน

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาที่เรียนในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจะครอบคลุมตั้งแต่ การกำหนดคุณสมบัติ เครื่องจักรกลต่าง ๆ การออกแบบและสร้าง การผลิตและประกอบ การตรวจรับงาน การซ่อมบำรุง การตรวจสอบความเสียหายของเครื่องจักรอุปกรณ์ ไปจนถึงการวิจัยและพัฒนาในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

    • Machine Parts Design การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
    • Mechanical Vibration การสั่นสะเทือนทางกล
    • Design of Piping Systems การออกแบบระบบท่อ
    • Thermal System Design การออกแบบระบบทางความร้อน
    • Computer-Aided Mechanical Engineering คอมพิวเตอร์ช่วยทางวิศวกรรมเครื่องกล
    • Computer Aided Mechanical Design คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบเชิงกล
    • Mechatronics and Control systems เมคคาทรอนิกส์และระบบควบคุม
    • Fluid Machinery เครื่องจักรกลของไหล
    • Power Plant Engineering วิศวกรรมโรงจักรต้นกำลัง
    • Refrigeration and Air-Conditioning การทำความเย็นและการปรับอากาศ
    • Entrepreneurship for Engineers การเป็นผู้ประกอบการสำหรับวิศวกร

    จบวิศวกรรมเครื่องกล ทำงานอะไรได้บ้าง?

    ผู้เรียนสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ไม่ต้องกังวลเลยว่า เรียนจบแล้วจะไม่มีงานทำ เพราะวิศวกรเครื่องกลนับว่าเป็นตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการและมีโอกาสงานมากมายรออยู่ สำหรับฐานเงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาท นอกจากนี้ยังมีสายอาชีพที่ตรงกับการเรียนในสาขานี้รออยู่อีกมากมาย เช่น

    • วิศวกรออกแบบ Design engineer
    • วิศวกรที่ปรึกษา Consulting engineer
    • วิศวกรสนาม Site engineer
    • วิศวกรตรวจสอบ Inspection engineer
    • วิศวกรซ่อมบำรุง Maintenance engineer
    • วิศวกรบริการ Service engineer
    • วิศวกรการผลิต Production engineer
    • วิศวกรคุณภาพ Quality engineer
    • หัวหน้าผู้ตรวจประเมินการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร Head of Energy Conservation Auditors for Building
    • นักวิชาการ Academic scholar
    • นักวิจัย Researcher
    • ผู้ประกอบการ Entrepreneur

    วิศวกรรมกระบวนการเคมี เป็นสายงานที่มีหน้าที่ตั้งแต่การออกแบบระบบการผลิต การทดสอบเครื่องจักรให้มีความพร้อม การตรวจสอบ ดูแล และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิต ทำให้ต้องมีทักษะและความรู้รอบด้าน สำหรับผู้ที่จบสาขาวิศวกรรมกระบวนการจาก MUT สามารถขอ ใบ กว. วิศวกรรมเคมีได้ นอกจากนี้ยังสามารถขอ ใบ กว. วิศวกรรมอุตสาหการได้อีก 1 สาขา โดยเรียนเพิ่มเพียง 2 ภาคการศึกษาเท่านั้น

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    ผู้เรียนวิศวกรรมกระบวนการ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีด้านวิศวกรรมกระบวนการ ทักษะด้านการคำนวณ การวางแผน การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา รวมถึงทักษะสังคม (Soft Skill) ที่จะได้จากการทำกิจกรรม Workshop ต่าง ๆ ในชั้นเรียน เช่น ทักษะการสื่อสาร และการประสานงาน โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ

    • Process Engineering Principles and Calculations หลักการและการคำนวณทางวิศวกรรมกระบวนการ
    • Process Heat Transfer การถ่ายเทความร้อนในกระบวนการผลิต
    • Process Mass Transfer การถ่ายเทมวลสารในกระบวนการผลิต 
    • Manufacturing Technology เทคโนโลยีการผลิต 
    • Safety Engineering วิศวกรรมความปลอดภัย 
    • AI and Data Science ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล
    • Mechatronics and Automation Engineering Laboratory ปฏิบัติการวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชั่น

    จบวิศวกรรมกระบวนการ ทำงานอะไรได้บ้าง?

    ผู้จบสาขาวิศวกรรมกระบวนการเคมีสามารถหางานทำได้ง่าย และมีความมั่นคงสูง และยังมีฐานเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง โดยจะอยู่ระหว่าง 30,000 – 45,000 บาท โดยสายอาชีพที่รองรับหลังเรียนจบในสาขานี้ ก็มีทั้งการทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน 

    • วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต
    • วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์
    • วิศวกรเคมี
    • วิศวกรควบคุมคุณภาพ 
    • วิศวกรความปลอดภัย
    • วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต
    • วิศวกรวิจัยและพัฒนา 
    • นักวิชาการหรือนักวิจัย 
    • งานราชการ /งานรัฐวิสาหกิจชั้นนำ
    • อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

    วิศวกรอุตสาหการและโลจิสติกส์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคย คือ วิศวกรโรงงาน ต้องศึกษาเรียนรู้องค์ความรู้พื้นฐานทุกสาขาที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาโรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตก้าวทันกระแสโลกที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดแรงงาน

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    ผู้เรียนสาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ จะต้องศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานทุกสาขาที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์  ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และวัสดุทางวิศวกรรม รวมถึงด้านการบริหารและการจัดการ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินและการลงทุน

    จบวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

    หากคุณเป็นนักบริหารรุ่นใหม่ ผู้สืบทอดกิจการ หรือสนใจงานด้านการจัดการโรงงาน และยังไม่รู้ว่าจะเรียนวิศวะอะไรดี สาขานี้ก็นับว่าตอบโจทย์อย่างมาก โดยฐานเงินเดือนเริ่มต้นของสาขานี้จะอยู่ที่ประมาณ 27,000 – 35,000 บาท ซึ่งผู้ที่เรียนจบจากสาขานี้ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกหลากหลาย เช่น

    • วิศวกรโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม ผู้จัดการโรงงาน
    • วิศวกรควบคุมคุณภาพ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ (Quality Management Representative (QMR)
    • วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรฝ่ายบำรุงรักษา
    • วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต
    • วิศวกรฝ่ายขาย
    • วิศวกรออกแบบ
    • วิศวกรควบคุมโครงการ
    • วิศวกรด้านการเงิน การลงทุน และวิเคราะห์ความเสี่ยง
    • อาจารย์ผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

    หากคุณมีความสนใจในการออกแบบ วิเคราะห์ สร้าง และควบคุมเครื่องจักร กระบวนการ รวมถึงระบบการผลิตอัตโนมัติ สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน คือคำตอบสุดท้ายของคุณ เพราะนอกจากจะเป็นโอกาสให้คุณได้รับความรู้ด้านดังกล่าวข้างต้นแล้ว คุณยังได้พัฒนาทักษะปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาหลักสูตรที่คุณจะได้เรียนรู้ในสาขานี้ เน้นให้ผู้เรียนมีความรอบรู้และมีทักษะปฏิบัติที่เป็นไปตามความต้องการของภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรม โดยจะเป็นการรวมตัวกันของศาสตร์วิศวกรรมที่สำคัญทั้ง 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจมีดังนี้

    • Embedded for Mechatronics Engineering ระบบสมองกลฝังตัวสำหรับวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ 
    • CAD/CAM and 3D printing for Mechatronics Engineering คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและผลิตและการพิมพ์ 3 มิติสำหรับวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์   
    • Mechatronics System Design การออกแบบระบบเมคคาทรอนิกส์  
    • Robotics Engineering วิศวกรรมหุ่นยนต์
    • Basic Design of Part and Injection Mold for Industrial พื้นฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์และแม่พิมพ์ฉีดสำหรับอุตสาหกรรม 

    จบวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน ทำงานอะไรได้บ้าง?

    วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน นับเป็นสาขาที่มีความต้องการอย่างสูงในตลาดแรงงาน โดยฐานเงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 35,000 บาท ซึ่งผู้ที่เรียนจบจากสาขานี้ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานรองรับค่อนข้างหลากหลาย เช่น 

    • วิศวกรในระบบการผลิตอัตโนมัติ โดยสามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆที่ใช้ในกระบวนการและระบบการผลิตในอุตสาหกรรม 
    • วิศวกรควบคุมการผลิต และวิศวกรซ่อมบำรุงในโรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถใช้ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ในการพัฒนาหรือออกแบบได้
    • นวัตกร หรือ นักสร้างนวัตกรรมในสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และสาขาอื่นๆที่มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน เช่น หุ่นยนต์ หรือ ดาวเทียมเป็นต้น
    • อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • อาชีพอิสระ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

    ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของมวลมนุษยชาติ ทำให้ผู้ที่เรียนจบ ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์นี้ มีโอกาสสูงในการหางาน เพราะเป็นสายงานที่ยังขาดแคลนกำลังคนอยู่มากในหลายประเทศทั่วโลก

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาที่ผู้เรียนจะได้เรียนในสาขานี้ ครอบคลุมวิชาพื้นฐาน ทั้งในส่วนของการพัฒนา Software, Hardware และ Network ตลอดจนเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรู้และฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถที่สนใจได้  โดยแบ่งเป็น 2 สาขาวิชาเอก ซึ่งในแต่ละสาขาวิชาเอก จะเน้นเฉพาะทักษะวิชาชีพที่จำเป็นกับสาขาวิชาเอกนั้น ๆ 

    • วิศวกรรมสมองกลฝังตัว อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและระบบเครือข่าย (Embedded IoT and Network Engineering)
    • วิศวกรรมวิทยาการข้อมูลและการบริหารงานระบบ (Data Science and Systems Management Engineering)

    จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

    วิศวกรคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นสายงานที่ขาดแคลนอย่างมากในหลายประเทศ ทำให้มีโอกาสในการทำงานค่อนข้างสูง มีฐานเงินเดือนสูงอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 45,000 บาท ซึ่งผู้ที่เรียนจบจากสาขานี้ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกหลากหลาย เช่น

    • วิศวกรคอมพิวเตอร์
    • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
    • ผู้ดูแลและออกแบบระบบโครงข่าย
    • วิศวกรที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • วิศวกรโครงการ
    • วิศวกรวิเคราะห์ ออกแบบระบบงานและฐานข้อมูล
    • นักเขียนและพัฒนาโปรแกรม
    • ผู้เชี่ยวชาญระบบข้อมูลขนาดใหญ่ และ ข้อมูล IoT
    • นักพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์, นักพัฒนาระบบ IoT
    • นักวิเคราะห์ระบบความมั่นคงไซเบอร์
    • ผู้ทดสอบช่องโหว่และการเจาะระบบเครือข่าย
    • ผู้ปรับสมรรถนะระบบ และ ผู้ทดสอบระบบ
    • นักวิจัย, นักประดิษฐ์คิดค้น
    • อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • อาชีพอิสระ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

    สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมโมบายซอฟต์แวร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน ทั้งด้านการวิเคราะห์ ออกแบบ และการพัฒนาโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นสายงานที่ยังขาดแคลนกำลังคน และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาการเรียน จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ UX/UI  การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับระบบปฏิบัติการ Android และ IOS การประยุกต์ใช้ AI รวมถึงระบบซอฟต์แวร์อื่น ๆ โดยมีเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจ เช่น

    • User Interface and Experience Design การออกแบบส่วนต่อประสานและประสบการณ์ของผู้ใช้  
    • Information Systems Analysis and Design การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ 
    • Web Application Development with Laravel and Vue.js Framework การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย ลาราเวล และวิวดอทเจเอส เฟรมเวิร์ค 
    • Native Application Development for Android OS การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์แบบเนทีฟสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  
    • Native Application Development for iOS การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์แบบเนทีฟสำหรับระบบปฏิบัติการไอโอเอส  
    • Web Application Development with Django Framework & Spring Framework
      การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยดีแจงโกเฟรมเวิร์ค และสปริงเฟรมเวิร์ค  
    • Laboratory in Software Testing ปฏิบัติการสำหรับการทดสอบซอฟต์แวร์  
    • Laboratory in Introduction to Blockchain and Big Data Technology ปฏิบัติการสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชนและข้อมูลขนาดใหญ่เบื้องต้น
    • Artificial Intelligence and Machine Learning Applications การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง 

    จบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมโมบายซอฟต์แวร์ทำงานอะไรได้บ้าง?

    ผู้ที่เรียนจบสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมโมบายซอฟต์แวร์ จะมีรายได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยฐานเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ  25,000 – 50,000 บาท ซึ่งผู้ที่เรียนจบจากสาขานี้ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกหลากหลาย เช่น

    • นักพัฒนาโปรแกรมอย่างเต็มรูปแบบทั้งส่วนหน้า และส่วนหลัง Front-end and Back-end Developer
    • นักพัฒนาแพลตฟอร์มอุปกรณ์เคลื่อนที่ Mobile App Developer
    • นักพัฒนาแพลตฟอร์มอุปกรณ์สวมใส่ Wearable App Developer
    • นักพัฒนาแพลตฟอร์มเว็บแอปพลิเคชัน Web Developer
    • นักพัฒนาโปรแกรมอรรถประโยชน์ Utility Program Developer
    • อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Internet of Thing Developer
    • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ Information Technology and System Analyst and Designer
    • ผู้ดูแลและบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล Database Administrator
    • วิศวกรข้อมูล Data Engineering
    • นักนวัตกร หรือนักสร้างนวัตกรรม Innovator
    • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย Network Administrator
    • นักวิเคราะห์ข้อมูล Data Analyzer
    • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ/นักวิชาการคอมพิวเตอร์ Computer / IT Officer
    • นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ IT Specialist

    เป็นสาขาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ด้านระบบเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากในปัจจุบันแนวโน้มของการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์มีอัตราที่สูงขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น บัณฑิตที่จบจากสาขานี้จึงนับเป็นบุคลากรวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    เนื้อหาที่จะได้เรียนในสาขาวิชานี้ จะเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาช่องโหว่ในการแฮคข้อมูล ผ่านการทดลองเจาะระบบต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น จึงถือว่าเป็นรายวิชาที่มีความน่าสนใจและแปลกใหม่จากสาขาอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด

    จบวิศวกรรมวิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

    สำหรับบัณฑิตที่เรียนจบจากสาขานี้ จะได้ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสายงานที่น่าสนใจและไม่ค่อยพบเห็นในไทย ทำให้มีโอกาสในการทำงานสูง โดยฐานเงินเดือนเฉลี่ยของสายงานนี้ จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ เริ่มต้นที่ประมาณ 20,000 – 70,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งผู้ที่เรียนจบจากสาขานี้ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกหลากหลาย เช่น

    • วิศวกรเครือข่าย
    • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
    • ผู้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่าย
    • ผู้จัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่าย และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและดูแลระบบสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย
    • วิศวกรสนับสนุนการขายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่าย และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
    • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
    • นักพัฒนาโปรแกรมและระบบสารสนเทศ
    • นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

    หากน้อง ๆ มีความชื่นชอบและหลงใหลในงานศิลปะ รวมถึงเทคโนโลยีการสร้างสรรค์งานศิลปะใหม่ ๆ สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลมัลติมีเดียอาร์ตเป็นสาขาที่จะทำให้น้อง ๆ ได้ทำในสิ่งที่ชื่นชอบและปลดปล่อยความเป็นตัวเองในรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาได้อย่างอิสระ เพราะหลักสูตรในสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการบูรณาการศาสตร์ของศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณค่าต่อผู้คนในอนาคตต่อไป

    เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    สำหรับเนื้อหาที่จะได้เรียนในสาขานี้ค่อนข้างหลากหลาย และครอบคลุมศาสตร์ด้านศิลปะในหลาย ๆ แขนง ไม่ว่าจะเป็น

    • Digital Multimedia Arts
    • Digital Graphic, 
    • 2D-3D Animation
    • Motion graphic, 
    • Interactive Media, 
    • Games, Augmented Reality / Virtual Reality / Mixed Reality

    จบเทคโนโลยีดิจิทัลมัลติมีเดียอาร์ต ทำงานอะไรได้บ้าง?

    สำหรับสายงานของบัณฑิตที่จบจากสาขานี้ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในทุกวงการ โดยฐานเงินเดือนของสายงานนี้ในประเทศไทย จะเริ่มต้นที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาท แต่หากมีโอกาสได้ไปทำงานในต่างประเทศ ฐานเงินเดือนก็จะสูงขึ้นได้ถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกหลากหลาย เช่น

    • นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
    • นักปั้นโมเดล 3 มิติ (3D Modeler)
    • นักผลิตการ์ตูนเคลื่อนไหว (Animator)
    • นักออกแบบสื่อเคลื่อนไหว (Motion Graphic Designer)
    • นักออกแบบทัศนศิลป์ (Visual Artist)
    • นักผลิตเนื้อหาบนสื่อโซเชียล (Social Media and Content Creator)
    • นักออกแบบสื่อดิจิทัล (Creative Media Designer)
    • นักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ และประสบการณ์ผู้ใช้ (UI/UX Designer)
    • นักพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Developer)
    • นักพัฒนาเกม (Game Developer)
    • นักออกแบบศิลปเชิงเทคนิค (Technical Artist)

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์

    จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด คงจะทำให้หลาย ๆ คน ไขคำตอบได้แล้วว่า วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง? สำหรับคนที่สนใจสมัครเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ MUT และยังมีข้อสงสัยในเรื่องต่าง ๆ อยู่บ้าง ในพาร์ทนี้ เรารวมคำถามที่พบบ่อยและคำตอบมาให้แล้ว ไปดูกัน

    1. สรุปสั้น ๆ วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง

    สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ MUT จะมีสาขาย่อยทั้งหมด 13 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะมีเนื้อหาการเรียนที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาที่สนใจและตอบโจทย์ความถนัดของตัวเองได้

    • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
    • วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
    • วิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด
    • วิศวกรรมโยธา
    • วิศวกรรมเครื่องกล
    • วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมกระบวนการ
    • วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์
    • วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ และออโตเมชัน
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ สาขา Embedded IoT and Network
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ สาขา Data science and System Management
    • เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมโมบายซอฟต์แวร์
    • วิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
    • เทคโนโลยีดิจิทัลมัลติมีเดียอาร์ต

    2. วิศวะสาขาไหนหางานง่ายที่สุด

    ต้องบอกก่อนว่า วิศวะทุกสาขายังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและหางานได้ง่ายไม่แพ้กัน แต่ก็มีบางสาขาที่ยังขาดแคลนกำลังคน และมีความต้องการสูงกว่าสาขาอื่น ๆ แล้วมีวิศวะสาขาอะไรบ้างที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน ไปดูกัน

    • วิศวกรรมโยธา
    • วิศวกรรมเครื่องกล
    • วิศวกรรมไฟฟ้า
    • วิศวกรรมอุตสาหการ
    • วิศวกรรมเครือข่าย
    • วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
    • วิศวกรรมเคมี

    3. เรียนวิศวะอะไรดีที่สุด

    ถ้าถามว่าเรียนวิศวะอะไรดีที่สุด ก็ต้องบอกก่อนว่า วิศวะทุกสาขามีจุดเด่นและเนื้อหาการเรียนที่แตกต่างกันไป ดังนั้น น้อง ๆ ที่กำลังตัดสินใจเลือกสาขาเรียน จึงควรพิจารณาจากเนื้อหาการเรียนของวิศวะแต่ละสาขาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงพิจารณาความชื่นชอบ ความถนัด และความต้องการในการศึกษาหรือพัฒนาความรู้ของตนเอง ตลอดจนความหลงใหล เป้าหมายอาชีพในอนาคต เพื่อให้สามารถศึกษาจนจบได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

    4. วิธีการสมัครเรียน

    • สมัครเรียนผ่านเว็บไซต์ www.mut.ac.th แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
    • ลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร MII สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ เปิดรับสมัคร-ลงทะเบียน ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด 9:00-17:00 น.
    • ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ (แจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ 02-988-4021-24 ได้ทุกวัน)
    • ค่าสมัคร 300 บาท สามารถชำระผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือ ที่มหาวิทยาลัยฯ

    5. เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่

    • รูปถ่าย หน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
    • สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ชุด

    (กรณีกำลังศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย สามารถยื่นใบรับรองเกรด 5 เทอม(วุฒิ ม.6/ปวช.) หรือ 3 เทอม (วุฒิ ปวส.)ได้)

    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของนักศึกษา 1 ชุด
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง 1 ชุด
    • ใบรับรองแพทย์ จาก โรงพยาบาลหรือคลินิก
    • นักศึกษาชาย สำเนาใบสำคัญทางทหาร(สด.9) 1 ชุด

    หมายเหตุ

    • เอกสารสำเนาขนาด A4 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
    • กรณีผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ–สกุล ที่ไม่ตรงกับเอกสารการสำเร็จการศึกษา หรือเอกสารขึ้นทะเบียน ให้แนบสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ชุด

    สรุป วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง? เลือกเรียนวิศวะอะไรดี?

    อ่านมาถึงตรงนี้ น้อง ๆ คงจะได้ทราบกันไปแล้วว่า วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง แต่ละสาขาเรียนเกี่ยวกับอะไร และจบวิศวะทำงานอะไรได้บ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คงจะทำให้น้อง ๆ สามารถตัดสินใจเลือกสาขาที่ตรงกับความถนัด และความชอบของตัวเองได้แล้ว สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสมัครเรียนวิศวะที่ MUT หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับ MUT ได้ที่

    • สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ โทร.02-988-3650-66 ต่อ 1105-7 สายตรง 02-988-4021-24 หรือ https://www.facebook.com/mutmahanakorn
    • สำนักทะเบียน 02-988-3650-66 ต่อ 2312-14 หรือ https://www.facebook.com/mutregoffice
    • ฝ่ายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 02-988-3650-66 ต่อ 2323, 2324 สายตรง 02-988-4035 หรือ https://www.facebook.com/studentloanMUT

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Accept All
    Manage Consent Preferences
    • Always Active

    Save