“วิศวะ” ถือเป็นหนึ่งในคณะยอดนิยม ที่เป็นความฝันของเด็กหลายๆ คน ในประเทศไทย สำหรับผู้ที่กำลังมีความฝันว่าอยากเข้าศึกษาต่อ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกสาขาอะไรดี เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสาขาก่อนเข้าเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มี 5 สาขาวิศวะน่าสนใจ วิศวะอะไรไม่ตกงาน มาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม ให้กับผู้ที่ต้องการเตรียมความพร้อม ผ่านทางบทความนี้
เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีหลายสาขาด้วยกัน โดยแต่ละสาขาจะมีการเรียน การสอน รวมถึงสายงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ที่มีความตั้งใจอยากที่จะทำงานตรงสาย สามารถเลือกสาขาเรียนได้ถูกต้อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้อธิบายข้อมูลของสาขาต่างๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 สาขา ยอดฮิต พร้อมยกตัวอย่างงานของแต่ละสาขา ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมกระบวนการ มีรายละเอียดดังนี้
เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีหลายสาขาด้วยกัน โดยแต่ละสาขาจะมีการเรียน การสอน รวมถึงสายงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ที่มีความตั้งใจอยากที่จะทำงานตรงสาย สามารถเลือกสาขาเรียนได้ถูกต้อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้อธิบายข้อมูลของสาขาต่างๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 สาขา ยอดฮิต พร้อมยกตัวอย่างงานของแต่ละสาขา ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมกระบวนการ มีรายละเอียดดังนี้
วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) เป็นอีกหนึ่งคำตอบของคำถามเรียนวิศวะอะไรไม่ตกงานที่ใช่ที่สุด เนื่องจากสาขานี้ เป็นสาขาที่จะมีการเรียนเกี่ยวกับการเขียนแบบวิศวกรรม การประเมินถึงความจำเป็นในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้าง การดำเนินการและการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้าง รวมถึงแนวทางการก่อสร้างที่จะทำให้การก่อสร้างกระทบต่อผู้คนที่อยู่โดยรอบน้อยที่สุด ซึ่งวิศวกรรมโยธานี้ ถือเป็นสาขาที่มีความต้องการสูง หากเรียบจบมามีโอกาสที่จะได้งานทำง่ายที่สุด
อาชีพที่เหมาะกับวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขา วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) ถือเป็นหนึ่งในสาขายอดนิยมทีเดียว โดยคณะนี้ผู้เรียน จะได้เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เรียนการวิเคราะห์, ออกแบบ, และการผลิตระบบไฟฟ้าที่ใช้ตามครัวเรือน, อาคารสำนักงานและโรงงาน เรียนควบคุมระบบการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน เรียนการควบคุมวงจรไฟฟ้าในระบบการสื่อสารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม, อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ
อาชีพที่เหมาะกับวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) คือ สาขาวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการออกแบบ, การจัดสร้าง, การลงมือปฏิบัติ และการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นๆ ที่มีการควบคุม และมีการประมวลผลผ่านทางคอมพิวเตอร์ โดยจะมีการเรียนที่ครอบคลุมในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบนั้นๆ และนอกจากนี้ ยังให้เลือกเรียน 2 สาขาวิชาเอก คือ วิศวกรรมวิทยาการข้อมูลและการบริหารงานระบบ (Data Science and Systems Management Engineering) และ วิศวกรรมสมองกลฝังตัว อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและระบบเครือข่าย (Embedded IoT and Network Engineering)
อาชีพที่เหมาะกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
และสุดท้ายกับการเรียนวิศวะอะไรไม่ตกงาน คงจะเป็นสาขาไหนไปไม่ได้ นอกจากวิศวกรรมกระบวนการเคมี (Chemical Engineering) สำหรับผู้ที่มีความชื่นชอบ มีความสนใจในเรื่องกระบวนการผลิตทางเคมี ในภาคอุตสาหกรรม หรือการแปรสภาพสารเคมีสู่ ‘เคมีภัณฑ์’ ให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่วัตถุดิบทางเคมี การเลือกเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมกระบวนการ หรือวิศวกรรมเคมี คือคำตอบที่ใช่ที่สุด โดยสาขานี้จะมีการเรียนเกี่ยวกับเคมีพื้นฐาน, กระบวนการทางวิศวกรรมเคมี, เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น, การบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรม เป็นต้น
อาชีพที่เหมาะกับวิศวกรรมกระบวนการเคมี (Chemical Engineering)
และทั้งหมดนี้ คือแนวทางการเลือกสาขาต่าง ๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยผู้ที่มีความฝันว่าอยากที่จะเรียนวิศวะ สามารถนำเอาข้อมูลตามที่มีการกล่าวไว้ในข้างต้น ไปใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกเรียนได้ ซึ่งแต่ละสาขาวิชาหากเรียนจบออกมา จะมีสายงานที่แตกต่างกันตามหลักสูตรที่เรียน แต่สามารถมั่นใจได้เลยว่าทั้ง 5 สาขา ที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครนำมาฝากในวันนี้ ล้วนเป็นสาขาที่จบมาแล้วมีความต้องการสูง ใครที่สงสัยว่าเรียนวิศวะอะไรไม่ตกงาน? วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมกระบวนการเคมี คือคำตอบ!
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
Accept All