ในโลกปัจจุบันที่สรรพสิ่ง หรือแม้แต่ร่างกายมนุษย์ ยังประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ทั้งชนิดฝังตัว และชนิดพกติดตัว) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีเซมิคอนดักเตอร์หรือสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขที่มนุษย์กำหนด เป็นส่วนประกอบสำคัญ จึงกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมการผลิต Semiconductor มีความสำคัญยิ่ง และเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ ดาวเทียม หรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงมุ่งมั่นสร้างความแข็งแกร่งให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรม Semiconductor ผ่านยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ด้าน ดังนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เรามั่นใจว่าศูนย์การฝึกอบรมเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาตินี้ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะ (Incubation Center) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นประตูใหญ่ (Gateway) สู่การพัฒนาอุตสาหกรรม Semiconductor ของประเทศไทย ในโอกาสอันใกล้ต่อไป
MUT มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศให้สามารถพัฒนาและผลิตชิปรุ่นใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆภายในประเทศ
เพื่อกระตุ้นการวิจัยและพัฒนา
MUT ช่วยดึงดูดนักวิจัย วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้ามาทำงานและร่วมพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่น ชิปประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยี 3 นาโนเมตร(3nm Technology) และหน่วยประมวลผลที่ใช้พลังงานต่ำ
เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบริษัทระดับโลก
เมื่อมีโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร บริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่จะสนใจเข้ามาลงทุน ตั้งแต่การตั้งโรงงานผลิต (fabs) ไปจนถึงการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้
เพื่อสร้างโอกาสในการจ้างงานและพัฒนาทักษะแรงงาน
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้องการแรงงานที่มีความรู้และมีทักษะสูง เช่น วิศวกรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรรวม และนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ จึงเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการพัฒนาแรงงาน ทั้งUpskills / Reskills และ Newskills เพื่อเพิ่มอัตราการจ้างงานในประเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการสนับสนุนทุนฝึกอบรมบุคลากรด้านเซมิคอนดักเตอร์ให้กับประเทศ และมอบหมายให้ MUT เป็นหน่วยเชื่อมโยงองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโอกาสใหม่ ๆ จากหน่วยงานเอกชนและองค์กรต่างประเทศมาสู่ประเทศไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
นั่นคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ตั้งเป้าที่จะสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม Semiconductor ของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
🔹 การพัฒนา Hard Skills
🔹 การพัฒนา Soft Skills
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กับการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาคอาเซียนในศตวรรษที่ 21 และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก MUT จะเป็นศูนย์กลางที่สร้างความแข็งแกร่งและความได้เปรียบในการแข่งขันและมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
Accept All