อธิการบดีร่วมการอภิปราย การพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronics) เพื่อเป็นฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย

     รองศาสตราจารย์ ดร. ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ร่วมอภิปราย เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronics) เพื่อเป็นฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

     โดยการอภิปรายครั้งนี้ เป็นการฉายภาพรวมเรื่องการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย รวมถึงการหารือ ความท้าทายของประเทศ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจหรือด้านอื่นๆ ซึ่งในแง่มุมด้านการศึกษา อธิการบดี #MUT ได้ให้เผยว่า การพัฒนากำลังคนทุกระดับ ตั้งแต่การพัฒนากำลังคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม นักวิจัย รวมถึงการผลิตบัณฑิตในระดับ ปริญญาตรี โท เอก โดยภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า ได้ตั้งเป้าสำหรับ Semiconductor & Advanced Electronics ไว้ที่ 80,000 คน จากโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อาทิ โครงการระยะสั้น 1.ดำเนินการพัฒนาและเพิ่มทักษะ (Upskill/Reskill) เช่น โครงการ STEM PLUS หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับกำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม 2. โครงการ Coop+ หรือ สหกิจศึกษาพลัส การนำนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์มาพัฒนาทักษะเพิ่มเติมและฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรมจริง หลังจบการศึกษาแล้วยังสามารถทำงานกับบริษัทได้ทันที 3.โครงการสหกิจศึกษาในต่างประเทศ โดยการส่งนักศึกษาไปฝึกงานในมหาวิทยาลัยหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ

     ส่วนในระยะยาว อาทิ การจัดทำหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) เซมิคอนดักเตอร์ ทั้งระดับปริญญาตรีและโท ใน 15 มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการพัฒนากำลังคน เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก ล่าสุดได้ร่วมมือกับ Imperial College London สหราชอาณาจักร ในการส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่อในระดับปริญญาเอกด้านเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งหากมีผู้สนใจสามารถประสานงานได้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานและบริษัทชั้นนำในวงการอิเล็กทรอนิกส์เข้าร่วมงานอภิปรายครั้งนี้ด้วย อาทิ

(1) ผศ.เกรียงไกร สุขสุด รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

(2) นายเสกสรรค์ จิตตะนุศาสตร์  บริษัท อนาล็อก ดีไวเซส (ประเทศไทย) จำกัด

(3) นายอิศราพงศ์ สินันตา บริษัท นิชชินโบ ไมโคร ดีไวซส์ (ประเทศไทย) จำกัด

และ รศ. ดร.สุขุม  อิสเสงี่ยม ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save