สัตวแพทยศาสตร์
Veterinary Medicine

สัตวแพทยศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ถือกำเนิดมาในภาวะที่ประเทศไทยค่อนข้างขาดแคลนบุคลากรทางด้านสัตวแพทย์ ภายใต้การขยายตัวอย่างรวดเร็วด้านการปศุสัตว์ ซึ่งในขณะนั้น มีคณะสัตวแพทยศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเพียงไม่กี่แห่ง ที่สามารถผลิตบัณฑิตสัตวแพทยศาสตร์เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535  จึงเป็นจุดตั้งรากฐานของคณะ นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่สามารถเปิดการเรียนการสอน และได้รับการรับรองจากสัตวแพทยสภา

          การเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ ตลอดหลักสูตร 6 ปี  ต้องเรียนรู้สัตว์ทุกประเภท ทั้งสัตว์เล็กและใหญ่ เพื่อให้เป็นคุณหมอที่รักษาสัตว์ได้ทุกชนิด ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับ การตรวจสุขภาพสัตว์ การวินิจฉัยโรคสัตว์ การใช้ยา การบำบัดรักษา การพยากรณ์โรคสัตว์ และแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ โดยจะศึกษาตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การพิจารณากรณีศึกษา และการประยุกต์ความรู้เพื่อการรักษาและป้องกัน ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐาน ชีววิทยา เคมี เทคโนโลยีสารสนเทศ สัตววิทยา ตลอดจนความรู้เฉพาะทางสัตวศาสตร์ การเพาะและเลี้ยงดู สามารถปฏิบัติการรักษา การผ่าตัด การพยาบาลพร้อมกับหาแนวทางป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังสัตว์อื่น หรือติดต่อระหว่างสัตว์และคน รวมถึงงานด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข สุขศาสตร์อาหาร ระบาดวิทยาทางสัตวแทพย์ มาตรฐานอาหารและการปนเปื้อนในอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การเพิ่มผลผลิตในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งยังจะได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัย เพื่อพัฒนาวิชาชีพสัตวแพทย์ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย

จบสาขานี้แล้วทํางานอะไร

  • หน่วยงานรัฐบาล ได้แก่  อาจารย์  นักวิจัย  กรมปศุสัตว์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กองสัตวรักษ์  กองวัคซีนและเซรุ่ม  กองผสมเทียม กองอาหารสัตว์ กองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กองสัตวแพทย์สาธารณสุข  กองควบคุมสัตว์  ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ เป็นต้น
  • สำนักอนามัย  กระทรวงกลาโหม เช่น กองพันทหารม้า  กรมการแพทย์ทหารบก กองทัพอากาศ กรมตำรวจ องค์การสวนสัตว์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
  • หน่วยงานเอกชน  ได้แก่บริษัทธุรกิจปศุสัตว์  บริษัทยาสัตว์  บริษัทอาหารสัตว์ วัคซีนและอุปกรณ์ทางด้านสัตวแพทย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาไปอย่างมาก
  • การประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้แก่ การเปิดคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์  การทำฟาร์มสัตว์  เปิดร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว

การคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ ปี2566

         ผ่าน 3 ช่องทาง
         1. การสอบ กสพท. (จำนวนรับ 10 คน)
         2. การสอบ Admissions  (จำนวนรับ 30 คน)  
             สัดส่วนคะแนนสอบ  G-PAX 10%, TGAT 30%, A level (MATH 1) 10%,
              A level (Chemistry) 20%, A level (Biology) 30%

         3.การสอบรับตรงที่มหาวิทยาลัย (Direct Admission) (จำนวนรับ 60 คน)
            วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566    
            -เวลา 9:00 – 12:00 น.  สอบวิชา ชีววิทยา (60 ข้อ) และ วิชาเคมี (60 ข้อ)
            -เวลา 13:00 – 14:30 น. สอบวิชา ภาษาอังกฤษ (60 ข้อ)
            (สัดส่วนคะแนนสอบวิชาชีววิทยา 35%, วิชาเคมี 30% และ วิชาภาษาอังกฤษ 35%)

(รอบสอบตรง จะเปิดรับสมัครสอบ ตั้งแต่ 2 มกราคม 2566 เป็นต้น ผ่านทางเว็บไซต์ )

คณะสัตวแพทยศาสตร์

สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
สัตวแพทยศาสตร์
Doctor of Veterinary Medicine (D.V.M.)
Veterinary Medicine
หลักสูตรที่ได้การรับรองจาก
สัตวแพทยสภา

หลักสูตรที่ได้การรับรองคุณวุฒิ จากสำนักงาน  

ก.พ.

6 ปี

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

กยศ.

กรอ.

Human Capital

0

จำนวนบัณฑิตของเรา​

เทอมที่ 1
หลักภาษาอังกฤษพื้นฐาน
Essential English
เทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้
Information Technology and Applications
เคมีทั่วไป
General Chemistry
เคมีอินทรีย์สําหรับนักศึกษาสัตวแพทย์
Organic Chemistry for Veterinary Students
ชีววิทยาของเซลล์
Cell Biology
สัตววิทยา
Zoology
พันธุศาสตร์และชีววิทยาโมเลกุล
Genetics and Molecular Biology
วิทยาเอ็มบริโอทางสัตวแพทย์
Veterinary Embryology
เทอมที่ 2
หลักภาษาอังกฤษวิชาการ
Essential English for Academic Study
ฟิสิกส์สําหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Physics for Health Sciences
บทนําและการเตรียมพร้อมสู่วิชาชีพ
Introduction and Preparation for Future Career
ชีวเคมีทางสัตวแพทย์
Veterinary Biochemistry
จุลกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน
Basic Histology
มหกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ 1
Veterinary Gross Anatomy 1
สรีรวิทยาทางสัตวแพทย์ 1
Veterinary Physiology 1
ปฏิบัติการสรีรวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Physiology Laboratory
เทอมที่ 3
การรู้สารสนเทศ
Information Literacy
วิชาเลือกเสรี
Free Elective
เทอมที่ 1
ภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนาระดับกลาง
Intermediate Conversational English
Veterinary Histology
จุลกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์
มหกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ 2
Veterinary Gross Anatomy 2
สรีรวิทยาทางสัตวแพทย์ 2
Veterinary Physiology 2
หนอนพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Helminthology
กีฏวิทยาและโปรโตซัววิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Entomology and Protozoology
ภูมิคุ้มกันวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Immunology
เทอมที่ 2
ภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนาระดับสูง
Advanced Conversational English
พฤติกรรม การบังคับควบคุมและดูแลสัตว์
Behavior, Restraint and Animal Care
การผลิตสัตว์กระเพาะเดี่ยว
Non-ruminant Production
ไวรัสวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Virology
ปฏิบัติการไวรัสวิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Virology and Immunology Laboratory
แบคทีเรียและราวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Bacteriology and Mycology
เภสัชวิทยาทั่วไปทางสัตวแพทย์
Veterinary General Pharmacology
พยาธิวิทยาพื้นฐานทางสัตวแพทย์
Basic Veterinary Pathology
เทอมที่ 1
ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เชิงวิชาการ
English for Academic Purposes
ชีวสถิติ
Biostatistics
การเลี้ยงและการจัดการสัตว์ทดลอง
Laboratory Animal Care and Management
การผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง
Ruminant Production
โภชนศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์
Animal Nutrition and Feed Technology
เภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Pharmacology
พยาธิวิทยาเฉพาะระบบทางสัตวแพทย์
Veterinary Systemic Pathology
พยาธิวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์
Veterinary Clinical Pathology
เทอมที่ 2
ภาษาอังกฤษสื่อสารเพื่อการทํางาน
English Communication for Future Careers
เภสัชวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์
Veterinary Clinical Pharmacology
พิษวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์
Veterinary Clinical Toxicology
เทคนิคการผ่าซากและการชันสูตรโรคสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
Techniques in Animal Necropsy and Laboratory Diagnosis
หลักอายุรศาสตร์ทางสัตวแพทย์
Principle Veterinary Medicine
ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์
Veterinary Epidemiology
กฎหมายและจรรยาบรรณทางสัตวแพทย์และการใช้สัตว์ทดลอง
Veterinary Jurisprudence, Ethics and Laboratory Animal Use
ทัศนวินิจฉัยทางสัตวแพทย์
Veterinary Diagnostic Imaging
เทอมที่ 3
บูรณาการความรู้พรีคลินิกเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค
Integrated Preclinical Sciences for Disease Differential Diagnoses
เทอมที่ 1
ระเบียบวิธีวิจัยทางสัตวแพทย์
Veterinary Research Methodology
อายุรศาสตร์โรคสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 1
Small Domestic Animal Medicine 1
อายุรศาสตร์โรคสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 2
Small Domestic Animal Medicine 2
หลักศัลยศาสตร์และวิสัญญีทางสัตวแพทย์
Principle Surgery and Anesthesiology
โรคสัตว์ปีกและการจัดการ
Poultry Diseases and Management
โรคสุกรและการจัดการ
Swine Diseases and Management
ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคสุกรและสัตวปีก
Laboratory and Practice in Swine and Poultry Disease Diagnosis and Treatment
เทอมที่ 2
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา
Zoonosis and Emerging, Re-emerging Diseases
อายุรศาสตร์โรคสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 3
Small Domestic Animal Medicine 3
อายุรศาสตร์โรคสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 4
Small Domestic Animal Medicine 4
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และเนื้อเยื่ออ่อนในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Small Animal Orthopedics and Soft Tissues Surgery
โรคม้าและการจัดการ
Equine Diseases and Management
คลินิกสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยาแอนโดรวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
Obstetrics, Gynecology, Andrology and Theriogenology Clinic
ฝึกปฏิบัติการด้านสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยา แอนโดรวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
Laboratory and Practice in Obstetrics,Gynecology, Andrology and Theriogenology
กลุ่ม X
ปฏิบัติการหลักศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยาในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Laboratory for Principle Surgery, Small Animal Surgery and Anesthesiology
กลุ่ม Y
ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคม้า
Laboratory and Practice in Equine Disease Diagnosis and Treatment
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 จะจัดแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่ม X และ กลุ่ม Y)
เทอม 3
สร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพสัตวแพทย์
Experience in Veterinary Profession
เทอมที่ 1
สุขศาสตร์การอาหาร
Food Hygiene
เวชศาสตร์ป้องกันทางสัตวแพทย์
Veterinary Preventive Medicine
โรคสัตว์เคี้ยวเอื้องและการจัดการ
Ruminant Diseases and Management
ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยและจัดการโรคสัตว์เคี้ยวเอื้อง
Laboratory and Practice in Ruminant Disease Diagnosis and Management
โรคสัตว์น้ําและการจัดการ
Aquatic Animal Diseases and Management
ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคสัตว์น้ํา
Laboratory and Practice in Aquatic Animal Disease Diagnosis and Treatment
โรคสัตว์ป่า สัตว์สวนสัตว์ สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษและการจัดการ
Wildlife, Zoo and Exotic Animal Diseases and Management
กลุ่ม X
ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคม้า
Laboratory and Practice in Equine Disease Diagnosis and Treatment
กลุ่ม Y
ปฏิบัติการหลักศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยาในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Laboratory for Principle Surgery, Small Animal Surgery and Anesthesiology
นักศึกษาที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่ม X และ กลุ่ม Y) ตั้งแต่ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 จะสลับไปเรียนวิชาที่นักศึกษายังไม่ได้เรียน
เทอมที่ 2
กลุ่ม A ชุดวิชา 1
คลินิกปฏิบัติในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Clinical Practice in Small Domestic Animals
คลินิกปฏิบัติในม้า
Clinical Practice in Equine
คลินิกปฏิบัติในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
Clinical Practice in Ruminants
คลินิกปฏิบัติทางสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยา แอนโดรวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
Clinical Practice in Obstetrics, Gynecology, Andrology and Theriogenology
กลุ่ม B ชุดวิชา 2
คลินิกปฏิบัติในสุกร
Clinical Practice in Swine
คลินิกปฏิบัติในสัตว์ป่า สัตว์สวนสัตว์ และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
Clinical Practice in Wildlife, Zoo and Exotic Animals
คลินิกปฏิบัติในสัตว์ปีก
Clinical Practice in Poultry
คลินิกปฏิบัติในสัตว์น้ํา
Clinical Practice in Aquatic Animals
ชั้นปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 2 และชั้นปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 1 จะจัดแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่ม A และ กลุ่ม B) โดยให้ - นักศึกษาในกลุ่ม A เรียนชุดวิชา 1 ในชั้นปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 2 แล้วหมุนเวียนไปเรียนชุดวิชา 2 ในชั้นปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 1 - นักศึกษาในกลุ่ม B เรียนชุดวิชา 2 ในชั้นปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 2 แล้วหมุนเวียนไปเรียนชุดวิชา 1 ในชั้นปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 1
เทอม 3
บูรณาการความรู้ด้านสุขภาพสัตว์
Integrated Knowledge on Animal Health
ทักษะการสื่อสารในวิชาชีพสัตวแพทย์
Veterinary Communication Skills
เทอมที่ 1
ทั้งกลุ่ม A และ B
โครงร่างงานวิจัยทางสัตวแพทย์
Veterinary Research Proposal
กลุ่ม A ชุดวิชา 2
คลินิกปฏิบัติในสุกร
Clinical Practice in Swine
คลินิกปฏิบัติในสัตว์ป่า สัตว์สวนสัตว์ และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
Clinical Practice in Wildlife, Zoo and Exotic Animals
คลินิกปฏิบัติในสัตว์ปีก
Clinical Practice in Poultry
คลินิกปฏิบัติในสัตว์น้ํา
Clinical Practice in Aquatic Animals
กลุ่ม B ชุดวิชา 1
คลินิกปฏิบัติในสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Clinical Practice in Small Domestic Animals
คลินิกปฏิบัติในม้า
Clinical Practice in Equine
คลินิกปฏิบัติในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
Clinical Practice in Ruminants
คลินิกปฏิบัติทางสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยา แอนโดรวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
Clinical Practice in Obstetrics, Gynecology, Andrology and Theriogenology
เทอมที่ 2
โครงการวิจัยทางสัตวแพทย์
Veterinary Research Project
นวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางสัตวแพทย์
Innovation and Veterinary Entrepreneurship
ชุดวิชาชีพเลือกในรูปแบบที่ 1 หรือ ชุดวิชาชีพเลือกในรูปแบบที่2
นักศึกษาแต่ละคนเลือกเรียนวิชาชีพเลือก (โดยเลือก 2 รายวิชาจากชุดวิชาชีพเลือกในรูปแบบที่ 1 หรือ เลือก 1 รายวิชาจากชุดวิชาชีพเลือกในรูปแบบที่ 2)>
รายวิชาสําหรับชุดวิชาชีพเลือกรูปแบบที่ 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 1
Field Practice in Small Domestic Animals 1
ฝึกงานภาคสนามด้านม้า 1
Field Practice in Equine 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง 1
Field Practice in Ruminants 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยา แอนโดรวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ 1
Field Practice in Obstetrics, Gynecology, Andrology and Theriogenology 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์ปีก 1
Field Practice in Poultry 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสุกร 1
Field Practice in Swine 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์น้ํา 1
Field Practice in Aquatic Animals 1
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์ป่า สัตว์สวนสัตว์ และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ 1
Field Practice in Wildlife, Zoo and Exotic Animals 1
รายวิชาสําหรับชุดวิชาชีพเลือกรูปแบบที่ 2
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก 2
Field Practice in Small Domestic Animals 2
ฝึกงานภาคสนามด้านม้า 2
Field Practice in Equine 2
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง 2
Field Practice in Ruminants 2
ฝึกงานภาคสนามด้านสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยา แอนโดรวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ 2
Field Practice in Obstetrics, Gynecology, Andrology and Theriogenology 2
ฝฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์ปีก 2
Field Practice in Poultry 2
ฝฝึกงานภาคสนามด้านสุกร 2
Field Practice in Swine 2
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์น้ํา 2
Field Practice in Aquatic Animals 2
ฝึกงานภาคสนามด้านสัตว์ป่า สัตว์สวนสัตว์ และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ 2
Field Practice in Wildlife, Zoo and Exotic Animals 2

ดาวน์โหลดแผนการเรียนฉบับเต็ม ได้ที่นี่

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณการ ตลอดหลักสูตร 6 ปี 808,650 บาท

ดูรายละเอียดค่าใช้จ่าย
6 ปี

Facilities

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save