การพยาบาลสัตว์
Veterinary Nursing

การพยาบาลสัตว์

มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการด้านสุขภาพสัตว์และการพยาบาลสัตว์ เน้นให้รอบรู้ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานช่วยสัตวแพทย์ได้เป็นอย่างดี บัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ทั้งนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เชื่อมั่นว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นสาขาที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมของสัตว์หลากหลายชนิดนั่นเอง

ทำความรู้จักหลักสูตรการพยาบาลสัตว์

ลักษณะที่โดดเด่นของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ คือ “มีความเป็นมืออาชีพทางด้านการพยาบาลสัตว์” โดยผ่านกระบวนการหล่อหลอม ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการปฏิบัติการพยาบาลสัตว์ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมุ่งสร้างประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม

การพยาบาลสัตว์เรียนอะไรบ้าง?

เนื้อหาการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ จะเน้นให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติงานช่วยสัตวแพทย์ได้เป็นอย่างดี โดยเนื้อหาการเรียนที่น่าสนใจมีดังนี้

  • Basic Pathology of Animals พยาธิวิทยาพื้นฐานในสัตว์
  • Pharmacology and Toxicology for Veterinary Nursing เภสัชวิทยาและพิษวิทยาทางการพยาบาลสัตว์
  • Practice and Veterinary Nursing Care for Ruminant การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • Practice and Veterinary Nursing Care for Horse การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลม้า
  • Practice and Veterinary Nursing Care for Small Animals การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
  • Practice and Veterinary Nursing Care for Laboratory Animal and Exotic pet การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์ทดลองและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
  • Special Problem of Veterinary Nursing ปัญหาพิเศษทางการพยาบาลสัตว์
  • Professional Experiences in Veterinary Nursing care for Large Animals การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาลสัตว์ขนาดใหญ่

เรียนจบการพยาบาลสัตว์ ทำงานอะไรได้บ้าง

ผู้ที่เรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ มีงานรองรับหลังเรียนจบ เพราะนอกจากจะเป็นสาขาที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาวะองค์รวมของสัตว์หลากหลายชนิดแล้ว ยังเป็นสายงานที่เป็นที่ต้องการอย่างมากอีกด้วย โดยบัณฑิตสามารถเลือกทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกทั้งยังมีสายงานให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย อาทิ

  • การพยาบาลสัตว์ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 – 30,000 บาท
  • งานเกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 30,000 บาท
  • นักวิชาการและนักวิจัยด้านการพยาบาลสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 40,000 บาท
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อการวิจัยและอนุรักษ์ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 40,000 บาท
  • งานธุรกิจด้านการจัดการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ หรือเป็นเจ้าของโรงพยาบาลสัตว์ ฐานเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 – 50,000 บาท

การคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในสาขาการพยาบาลสัตว์ ปี 2567

การรับนักศึกษา ในสาขาการพยาบาลสัตว์ รับตรงไม่ต้องสอบคัดเลือก รับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกสาย

คณะสัตวแพทยศาสตร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

การพยาบาลสัตว์

Bachelor of Science (B.Sc.)

Veterinary Nursing

หลักสูตรที่ได้การรับรองคุณวุฒิ จากสำนักงาน  

ก.พ.

4 ปี

ปกติ

4 ปี

สหกิจ

4 ปี

4 ปี

สหกิจ

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

เทียบโอน

วันธรรมดา

เทียบโอน

เสาร์-อาทิตย์

กยศ.

กรอ.

Human Capital

0

จำนวนบัณฑิตของเรา​

แผนการเรียนสาขาการพยาบาลสัตว์
(Veterinary Nursing)

เทอมที่ 1

เคมีอินทรีย์พื้นฐาน
Basic Organic Chemistry
ชีววิทยาทั่วไป
General Biology
การปฏิบัติบังคับควบคุมสัตว์
Animals Control Practice
พลิกความคิด ชีวิตเปลี่ยน
Change Your Thoughts, Change Life
พันธุศาสตร์และการผสมพันธุ์สัตว์
Animal Genetics and Breeding
ภาษาอังกฤษในโลกดิจิทัล
English in the Digital World
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
General Science

เทอมที่ 2

ชีวเคมีทั่วไป
General Biochemistry
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสัตว์
Animal Science and Technology
หลักโภชนาการและสุขศาสตร์น้ำนมในสัตว์
Principle Nutrition and Milk Hygiene in Animal
สัตววิทยาทั่วไป
General Zoology
จิตวิทยาเพื่อการดาเนินชีวิตและการทำงาน
Psychology for Living and Work
พื้นฐานภาษาอังกฤษวิชาการ
Fundamental English for Academic Purposes
สถิติขั้นพื้นฐาน
Elementary Statistics
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
Introduction to Computers

เทอมที่ 1

กายวิภาคศาสตร์พื้นฐานในสัตว์
Basic Anatomy of Animals
สรีรวิทยาพื้นฐานในสัตว์
Basic Physiology of Animals
จุลชีววิทยาทางการพยาบาลสัตว์
Microbiology for Veterinary Nursing
ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลสัตว์
Basic Skills in Veterinary Nursing
การฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลสัตว์ 1
Practice of Veterinary Nursing I
ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเชิงวิชาการ
English for Academic Study
วิชาเลือกเสรี
Free Elective

เทอมที่ 2

พยาธิวิทยาพื้นฐานในสัตว์
Basic Pathology of Animals
เภสัชวิทยาและพิษวิทยาทางการพยาบาลสัตว์
Pharmacology and Toxicology for Veterinary Nursing
ปรสิตวิทยาทางการพยาบาลสัตว์
Parasitology for Veterinary Nursing
การจัดการและการพยาบาลสัตว์ขั้นต้น
Basic Nursing Management
การฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลสัตว์ 2
Practice of Veterinary Nursing II
วิชาเลือกเสรี
Free Elective

เทอมที่ 1

ระบาดวิทยาทางการพยาบาลสัตว์
Epidemiology and Public Health for Veterinary Nursing
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
Blood and Blood Components transfusion
หลักการถ่ายภาพรังสีและการอุลตร้าซาวด์
Principle of X-ray and Ultrasound Technique
วิสัญญีทางการพยาบาลสัตว์
Anesthesia for Veterinary Nursing
โลหิตวิทยาและจุลทรรศน์วินิจฉัยในสัตว์
Animal Hematology and Clinical Microscopy
การฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลสัตว์ 3
Practice of Veterinary Nursing III
จริยธรรมและกฎหมายการดูแลสัตว์
Ethical and Legal Animal Care
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสาหรับการดูแลสัตว์
Communicative English for Animal Care

เทอมที่ 2

ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลสัตว์
Research Methodology for Veterinary Nursing
การจัดการและการพยาบาลสัตว์ป่วยทางอายุรกรรม
Nursing Care of Veterinary Medicine
การจัดการและการพยาบาลสัตว์ป่วยทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Nursing Care of Veterinary Rehabilitation Medicine
การจัดการและการพยาบาลสัตว์ป่วยทางศัลยกรรม
Nursing Care of Veterinary Surgery
การจัดการและการพยาบาลสัตว์ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต
Nursing Care of Veterinary Emergency and Crisis
การฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลสัตว์ 4
Practice of Veterinary Nursing IV
โรคที่สาคัญในสัตว์เลี้ยง
Pets Disease
การพัฒนาทักษะทางสังคมเพื่อการทางาน
Social Skills Development for Careers

เทอมที่ 1

การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก
Practice and Veterinary Nursing Care for Small Animals
การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์ทดลองและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
Practice and Veterinary Nursing Care for Laboratory Animal and Exotic Pet
การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลม้า
Practice and Veterinary Nursing Care for Horse
การฝึกปฏิบัติและการพยาบาลสัตว์เคี้ยวเอื้อง
Practice and Veterinary Nursing Care for Ruminant
งานวิจัยทางการพยาบาลสัตว์
Veterinary Nursing Research

เทอมที่ 2

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการพยาบาลสัตว์เลี้ยง 1
Professional Experiences in Veterinary Nursing for Animals I
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการพยาบาลสัตว์เลี้ยง 2
Professional Experiences in Veterinary Nursing for Animals II
ฝึกทักษะงานทางการพยาบาลสัตว์
Skills Training in Veterinary Nursing

ดาวน์โหลดแผนการเรียนฉบับเต็ม ได้ที่นี่

จ่ายครั้งแรก 10,000 บาท ตลอดหลักสูตร 4 ปี 327,350 บาท

ดูรายละเอียดค่าใช้จ่าย
4 ปี

Facilities

สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะได้รับในสาขาการพยาบาลสัตว์

  • ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา เภสัชวิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยาทางสัตวแพทย์
  • ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์
  • ห้องปฏิบัติการอณูพันธุวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ห้องปฏิบัติการซีรั่มวิทยาและพิษวิทยา
  • ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา
  • ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
  • ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิกและปรสิตวิทยา
  • ห้องปฏิบัติการกล้องจุลทรรศน์
  • ห้องปฏิบัติการชันสูตรซาก
  • โรงพยาบาลสัตว์เล็กเพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก
  • โรงเรือนสัตว์ทดลองขนาดเล็ก
  • ศูนย์บริการชันสูตรโรคสัตว์
  • ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์
  • คอกสัตว์ทดลองและโรงเรือนปฏิบัติการด้านสัตว์ใหญ่

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสาขาการพยาบาลสัตว์

นักศึกษาจะสามารถเทียบโอนได้กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ภาษาอังกฤษ SOHO เคมีทั่วไป ฟิสิกส์ ชีวสถิติ คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ กลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านสัตวแพทย์จะไม่สามารถเทียบได้ อย่างไรก็ดี การเข้าเรียนในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ นักศึกษาต้องผ่านการสอบคัดเลือกกับทางมหาวิทยาลัย ก่อน ถึงจะทำเรื่องเทียบโอนกับทางคณะต่อไป

สัตวแพทย์ จะเป็นบุคคลที่เรียนจบจากสาขาสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับคุณวุฒิ ปริญญาทางสัตวแพทย์ศาสตร์ (สพ.บ.) 6 ปี และได้รับใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการรับรองโดยสัตวแพทยสภา ซึ่งสัตวแพทย์สามารถทำหน้าที่บำบัดรักษาโรคสัตว์ และการดูแลสุขภาพสัตว์เป็นหลัก
ส่วนนักการพยาบาลสัตว์ จะเป็นบุคคลที่เรียนจบจากสาขาการพยาบาลสัตว์ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี โดยจะปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสัตว์ในสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่า เช่น การประเมินสุขภาพ การดูสัตว์ขณะเจ็บป่วย การเป็นผู้ช่วยผ่าตัด การดูแลด้านโภชนาการ การป้องกันโรคสัตว์ เป็นต้น

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทุกประเภท อาทิ สัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่า นอกจากนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพิ่มประชากรสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ด้วยเช่นกัน

น้อง ๆ ที่ประสงค์ยื่นกู้ยืมกองทุนฯ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าเทอม สามารถยื่นกู้ กรอ. หรือกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

  • ฝ่ายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 02-988-3650-66 ต่อ 2323, 2324 สายตรง 02-988-4035 หรือ https://www.facebook.com/studentloanMUT
  • สมัครเรียนผ่านเว็บไซต์ www.mut.ac.th แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
  • ลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเองที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร MII สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ เปิดรับสมัคร-ลงทะเบียน ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด 9:00-17:00 น.
  • ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ (แจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ กับเจ้าหน้าที่ 02-988-4021-24 ได้ทุกวัน)
  • ค่าสมัคร 300 บาท สามารถชำระผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือ ที่มหาวิทยาลัยฯ
  • รูปถ่าย หน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  • สำเนาวุฒิการศึกษา 2 ชุด
    (กรณีกำลังศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย สามารถยื่นใบรับรองเกรด 5 เทอม (วุฒิ ม.6/ปวช.) หรือ 3 เทอม (วุฒิ ปวส.)ได้)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของนักศึกษา 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง 1 ชุด
  • ใบรับรองแพทย์ จาก โรงพยาบาลหรือคลินิก
  • นักศึกษาชาย สำเนาใบสำคัญทางทหาร(สด.9) 1 ชุด

หมายเหตุ

  • เอกสารสำเนาขนาด A4 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
  • กรณีผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ–สกุล ที่ไม่ตรงกับเอกสารการสำเร็จการศึกษา หรือเอกสารขึ้นทะเบียน ให้แนบสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ชุด

เรียนการพยาบาลสัตว์

หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน พัฒนาความรู้เพื่อสายงานแห่งอนาคต

หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชันที่ MUT เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเมคคาทรอนิกส์ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้ โดยนอกจากจะเน้นการปูพื้นฐานทางทฤษฎีแล้ว เรายังให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างทักษะทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต ทั้งทักษะการทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้บัณฑิตที่จบไป สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับ MUT ได้ที่

  • สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ โทร.02-988-3650-66 ต่อ 1105-7 สายตรง 02-988-4021-24 หรือ https://www.facebook.com/mutmahanakorn
  • สำนักทะเบียน 02-988-3650-66 ต่อ 2312-14 หรือ https://www.facebook.com/mutregoffice
  • ฝ่ายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 02-988-3650-66 ต่อ 2323, 2324 สายตรง 02-988-4035 หรือ https://www.facebook.com/studentloanMUT

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Accept All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save