ไขข้อสงสัย หลักสูตรต่อเนื่อง-เทียบโอนคืออะไร เหมือนหรือต่างกันยังไงบ้าง
Published by mutadmin on
อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทย มีหลักสูตรการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้มีทางเลือกในการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งการเรียนสายอาชีพก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการเตรียมความพร้อมในด้านของทักษะความรู้ รวมถึงประสบการณ์การทำงานในอนาคต และเพื่อให้ผู้ที่เรียนสายอาชีพโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในหลักสูตร ปวส. ที่กำลังสนใจที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการศึกษา หรือแนวทางในการไปต่อได้ง่ายขึ้น เราจึงได้นำเอาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเทียบโอนคืออะไร หลักสูตรต่อเนื่องคืออะไร และทั้ง 2 หลักสูตรนี้ต่างกันอย่างไร นำมาฝากกันผ่านทางบทความนี้
หลักสูตรเทียบโอนคืออะไร?
หลักสูตรเทียบโอนคือ หลักสูตรที่จะนำเอาผลการเรียนในระดับ ปวส. จากรายวิชาที่ผู้เรียนได้มีการเรียนมาแล้วบางส่วน นำเอาไปเทียบโอนเข้ากับรายวิชาในระดับการศึกษาปริญญาตรี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะศึกษาต่อในวุฒิปริญญาตรีได้นั่นเอง ซึ่งระยะเวลาในการศึกษาอาจจะไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ เพราะอาจขึ้นอยู่กับการเทียบโอนรายวิชาในสาขานั้นๆ ว่าจะสามารถทำการเทียบโอนมาได้เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากแล้ว มักจะใช้เวลาเรียนอยู่ที่ประมาณ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี ซึ่งผู้เรียนจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติก่อนว่า สาขาที่เรียนมานั้นตรงกับกลุ่มวิชาที่เปิดรับสมัครหรือไม่
หลักสูตรต่อเนื่องคืออะไร?
หลักสูตรต่อเนื่องคือ หลักสูตรที่เรียนต่อเนื่อง มาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือระดับ ปวส. ไปสู่การเรียนต่อในระดับปริญญาตรี โดยที่จะไม่มีการเทียบโอนวิชา เมื่อผู้เรียนศึกษาจบในระดับ ปวส. เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชานั้นๆ ได้เลยทันที โดยหลักสูตรนี้จะมีระยะเวลาในการเรียนเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่ปัจจุบันหลักสูตรนี้ อาจจะยังมีเพียงแค่บางสถานศึกษาเท่านั้น
หลักสูตรต่อเนื่อง vs เทียบโอน แตกต่างกันยังไง?
จากข้อมูลของหลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรเทียบโอน ที่เราได้นำเอามาฝากในข้างต้น สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเลย คือระยะเวลาในการศึกษาต่อ หากเป็นการเลือกเรียนในหลักสูตรต่อเนื่อง จะมีระยะเวลาในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่หากเป็นการเลือกหลักสูตรเทียบโอน ระยะเวลาการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อาจจะไม่ตายตัว เนื่องจากอาจไม่สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ทั้งหมด ซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนหลักสูตรต่อเนื่อง ที่ไม่ต้องเทียบโอนหรือตรวจสอบคุณสมบัติในการสมัคร
แนะนำแผนการการเรียนเทียบโอนวิศวกรรมที่ MUT
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ผลักดันให้ผู้ที่มีวุฒิระดับ ปวส. หรือเทียบเท่า รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน ได้สามารถต่อยอดทางด้านการศึกษาและความรู้ในสายอาชีพให้มากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มีการเปิดรับสมัครนักศึกษา ที่ต้องการจะศึกษาต่อในแผนการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) มีแผนการเรียน 2 แผนด้วยกัน ได้แก่ แผนการเรียน 4 ปี สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย และแผนการเรียนเทียบโอนหน่วยกิต หรือประสบการณ์การทำงาน สำหรับผู้ที่จบการศึกษาในระดับ ปวส. โดยสาขาวิชาที่เปิดรับเทียบโอนคือ
- วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
- วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (สาขาวิศวกรรมกระบวนการเคมี)
- วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์)
- วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
ข้อดีของการเทียบโอนวิศวกรรมที่ MUT
ข้อดีของแผนการเรียน เทียบโอนวิศวะ แผนการเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) คือผู้เรียนสามารถทำการยื่นสมัครได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีการโอนหน่วยกิต และวิธีการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน ผู้เรียนจะสามารถเลือกเวลาเข้าเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ทำให้ประสบการณ์ทำงานที่มีไม่เสียเปล่า ช่วยให้ผู้เรียนได้ประหยัดเวลามากขึ้น และสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน ในสายงานที่เกี่ยวข้องมาก่อน อาจารย์ผู้สอนจะทำการทดสอบทักษะ และความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน หากผ่านการพิจารณาว่าผลการเรียน สามารถที่จะจัดสรรเวลาในการเรียนได้ จะทำให้ผู้เรียนไม่ต้องเรียนซ้ำในเรื่องเดิมที่มีทักษะ และความรู้ผ่านประสบการณ์ที่เคยทำงานมาก่อนแล้ว อีกทั้งค่าเทอมยังสามารถแบ่งชำระได้อีกด้วย